DSpace Repository

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับแฟนคลับเพื่อแก้ปัญหาการทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชเนตตี ทินนาม
dc.contributor.author ทรรศิกา สมใจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:26:39Z
dc.date.available 2022-07-23T04:26:39Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79597
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์การทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ไอดอลหญิง นักกิจกรรม นักวิชาการ และแฟนคลับ เพื่อออกแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการทำให้เป็นวัตถุทางเพศในไอดอลหญิงสำหรับแฟนคลับ แล้วนำไปทดลองใช้กับแฟนคลับเพื่อประเมินผลและปรับปรุง ผลการวิเคราะห์ปรากฏการณ์การทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศ พบว่า วาทกรรมเพศสภาพ บรรทัดฐานรักต่างเพศ ปิตาธิปไตย วัฒนธรรมอำนาจนิยม ทุนนิยม บุคคลสาธารณะ และเทคโนโลยีและพื้นที่ออนไลน์  ทำงานร่วมกันเป็นจิ๊กซอว์แห่งความรุนแรงที่ทำให้ไอดอลหญิงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ในการนำผลการวิเคราะห์ปรากฏการณ์การทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ มีเป้าหมายคือ 1) สร้างการตระหนักรู้เกี่ยวกับการทำให้เป็นวัตถุทางเพศในไอดอลหญิง 2) ทำให้เห็นโครงสร้างความรุนแรงทางเพศ และเข้าใจการกดขี่ทางเพศที่ไอดอลหญิงต้องพบเจอ และ 3) สร้างรูปแบบการติดตามในวัฒนธรรมไอดอลที่จะไม่ทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศจากประสบการณ์และความคิดเห็นของแฟนคลับ โดยเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่อยู่บนวัฒนธรรมอำนาจร่วม (Power Shared) เพื่อการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ โดยกระบวนการเรียนรู้ ภายหลังการปรับปรุง ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม O.O.O (Odd One Out) กิจกรรม Gender Frame กิจกรรม History กิจกรรม Her Story กิจกรรม In Your Position กิจกรรม Mirror กิจกรรม What is Love และกิจกรรม Rewrite the story ใช้เวลา 2 วันหรือประมาณ 10 ชั่วโมงตลอดกิจกรรม
dc.description.abstractalternative The current study was intended to analyze the factor of sexual objectification of female idol to solve by transformative learning. This study interviewed female idol, activist, academician, and fan club. The finding showed that  Discourse of gender in Thailand, Heteronormativity, Patriarchy system, Authoritarian Culture, Capitalism, Public Figure and Technology and Cyberspace were work collaborate as a piece of jigsaw  that sexual objectified female idol. This learning process aim to 1) Create awareness about sexual objectification in female idol 2) Portray system of sexual violence to create understanding of oppression in Idol Industry and 3) Create new pattern of interaction between female Idol and fans from Experience of fans with Power Shared. After first draft, the transformative learning process contain 8 activities which is O.O.O (Odd One Out), Gender Frame, History, Her Story, In Your Position, Mirror, What is Love and Rewrite the story and needs 2 Days or around 10 hours to complete the process.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.668
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject นักร้องสตรี
dc.subject แฟนคลับ -- ทัศนคติ
dc.subject การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง
dc.subject การคุกคามทางเพศต่อสตรี
dc.subject Women singers
dc.subject Fan clubs -- Attitude
dc.subject Transformative learning
dc.subject Sexual harassment of women
dc.title การออกแบบกระบวนการเรียนรู้สำหรับแฟนคลับเพื่อแก้ปัญหาการทำให้ไอดอลหญิงเป็นวัตถุทางเพศ
dc.title.alternative Transformative learning design for solving sexual objectification of female idol in fanclub
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.668


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record