DSpace Repository

การเปิดรับสื่อ แรงจูงใจ จิตสำนึกสาธารณะ และความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด19

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
dc.contributor.author ภัครดา อิ่มสุขศรี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:26:46Z
dc.date.available 2022-07-23T04:26:46Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79609
dc.description วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งศึกษาการเปิดรับสื่อ แรงจูงใจ จิตสำนึกสาธารณะที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด19 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถตัดสินใจบริจาคโลหิตได้ด้วยตัวเอง จำนวน 360 คน ทำการวิเคราะห์สถิติโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ผู้บริจาคโลหิตจะมีความถี่ในการบริจาคโลหิตลดจำนวนลง การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตมีความสำคัญในระดับมาก เนื่องจากทำให้เห็นว่า เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม เชื่อว่ากิจกรรมการรับบริจาคโลหิตที่พบในสื่อเป็นการนำโลหิตไปใช้ประโยชน์แก่ป่วยจริง แรงจูงใจภายในเกี่ยวกับการบริจาคโลหิตมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากการรู้สึกสงสารผู้ป่วยที่ขาดแคลนโลหิต รู้สึกดีที่ได้ทำประโยชน์ด้วยการบริจาคโลหิต และรู้สึกว่าโลหิตในประเทศมีความขาดแคลนจึงต้องร่วมช่วยเหลือ ส่วนจิตสำนึกสาธารณะมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเห็นว่าโลหิตที่บริจาคจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในอนาคต เชื่อว่าการบริจาคโลหิตเป็นการช่วยเหลือผู้อื่น และคิดว่าการบริจาคโลหิตเป็นการช่วยเหลือสังคมส่วนรวม เมื่อทำการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การเปิดรับสื่อ จิตสำนึกสาธารณะ และแรงจูงใจภายในมีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาถึงระดับความสำคัญ พบว่า การเปิดรับสื่อ (Beta เท่ากับ .419) และจิตสำนึกสาธารณะ (Beta เท่ากับ .374) มีความสำคัญต่อความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด19
dc.description.abstractalternative This quantitative research’s objective is to study media exposure, motivations, public consciousness, and blood donation intention during the COVID-19 pandemic mandatory research tool used in this study is a public survey of 360 blood-donation-eligible participants whose ages between 18 – 60 years old. The statistical analysis of the surveyed results is done by regression model with a confidence level of 95% or above. The result of this study found that media exposure and public consciousness have a significant influence on people’s intention toward blood donation, with 99% confidence level. An individual’s internal motivation also significantly influences their intention to donate blood during the ongoing Covid-19 situation, with a confidence level of 95%. When considering the degree of influence, we found that media exposure (.419 Beta) and public consciousness (.374 Beta) significantly influence people’s motivation to donate blood during the Covid-19 situation with 99% confidence level.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.675
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การบริจาคโลหิต
dc.subject จิตสาธารณะ
dc.subject การจูงใจ (จิตวิทยา)
dc.subject Directed blood donations
dc.subject Public mind
dc.subject Motivation ‪(Psychology)‬
dc.title การเปิดรับสื่อ แรงจูงใจ จิตสำนึกสาธารณะ และความตั้งใจในการบริจาคโลหิตในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด19
dc.title.alternative Media exposure, motivations, public consciousness and blood donation intention during the COVID-19 pandemic
dc.type Thesis
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.675


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record