DSpace Repository

การเรียนรู้การถ่ายทอดสำหรับการจำแนกภาพด้วยโครงข่ายคอนโวลูชัน: กรณีศึกษาภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัครินทร์ ไพบูลย์พานิช
dc.contributor.author ธัญญ์ชวิน โพธิวัฒน์ธนัต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2022-07-23T04:36:00Z
dc.date.available 2022-07-23T04:36:00Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79730
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract เทคนิคการประมวลผลจากภาพถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลากหลายอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยการนำมาประยุกต์ใช้กับทางการแพทย์ก็เป็นอีกหนึ่งอุสาหกรรมที่ได้รับความนิยม ทั้งนี้ปัญหาในการจำแนกภาพสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน หนึ่งในนั้น คือการนำการเรียนรู้เชิงลึกมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยการจำแนกประเภทผ่านการเรียนรู้เชิงลึกสามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำผ่านการนำโครงข่ายการเรียนรู้เชิงลึกแบบคอนโวลูชั่น หรือ ซีเอ็นเอ็น (Convolutional Neural Networks หรือ CNN) มาใช้กับเทคนิคการเรียนรู้ถ่ายทอด (Transfer Learning) งานวิจัยนี้จึงนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ถ่ายทอดในการฝึกสอนแบบจำลองโครงข่ายคอนโวลูชั่นเชิงลึกเพื่อจำแนกภาพถ่ายรังสีทรวงอกออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ป่วยปกติ 2) ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19 3) ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ติดเชื้อปอดอักเสบจากไวรัส ผ่านแบบจำลองที่ถูกฝึกมาเรียบร้อย (Pre-trained Model) แล้วสามแบบจำลอง ประกอบด้วย โมไบล์เน็ตวี2 (MobileNetV2) เรสเน็ต50 (Resnet50) และอินเซปชันวี3 (InceptionV3) ซึ่งได้ถูกเลือกมาใช้ในการทดสอบเพื่อสร้างแบบจำลองทั้งหมด 3 ตัว ประกอบด้วย ซีเอ็นเอ็น+โมไบล์เน็ตวี2 ซีเอ็นเอ็น+เรสเน็ต50 และ ซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 ซึ่งพบว่า สมรรถนะแบบจำลองซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จึงถูกเลือกนำไปปรับรายละเอียด การประเมินผลบนชุดข้อมูลทดสอบของแบบจำลองซีเอ็นเอ็น+อินเซปชันวี3 หลังจากทำการปรับรายละเอียด (Fine Tuning) ทั้งหมดด้วยกัน 8 ชั้น คือ ชั้นที่ 280, 250, 230, 200, 160, 150, 130 และ 120 ซึ่งแตกต่างจากบทความวิจัยส่วนใหญ่ที่ทำการละทิ้งการตรึงเพียงชั้นเดียว โดยเห็นได้ว่าการปรับรายละเอียดของแบบจำลองที่ทำการละทิ้งการตรึงตั้งแต่ชั้น 150 ให้ผลการทดสอบการจำแนกภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19 ได้ความแม่นยำที่ดีที่สุดที่ 95% ซึ่งเห็นได้ว่าแนวทางการจำแนกประเภทภาพที่นำเสนอมีความหวังสามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ได้
dc.description.abstractalternative Image processing techniques are widely used in a variety of industries today. In medicine, problems in image classification can be solved quickly and accurately through the application of convolutional neural networks (CNNs) with Transfer Learning. This research, therefore, presents a method for applying transfer learning techniques with an in-depth convolution network model to classify chest radiographs into 3 categories: 1) chest radiographs of Normal patients 2) chest radiographs of patients infected with COVID-19 3) chest radiographs of patients with viral pneumonia, using pre-trained models, and three models: Mobile Net V2, Resnet50, and InceptionV3 (InceptionV3).  The following 3 models were selected for comparison: CNN+MobileNetV2, CNN + Resnet50, and CNN + Inception V3.  The result shows that the CNN + Inception V3 model gives the best result. After adjustment by fine-tuning in 8 layers in the 280th, 250th, 230th, 200th, 160th, 150th, 130th, and 120th layer which is different from other research that normally chooses one layer to unfreeze, the accuracy of the model is improved. The model unfrozen from the 150th and above gives the best accuracy at 95%. The proposed image classification approach be further developed to benefit the medical field.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1055
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Decision Sciences
dc.title การเรียนรู้การถ่ายทอดสำหรับการจำแนกภาพด้วยโครงข่ายคอนโวลูชัน: กรณีศึกษาภาพถ่ายรังสีทรวงอกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19
dc.title.alternative Image transfer learning for image classification using convolutional neural networks: a case study of COVID19-infected chest X-ray images
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถิติ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1055


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record