DSpace Repository

การเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายถ่านหินในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
dc.contributor.advisor โอฬาร กิตติธีรพรชัย
dc.contributor.author ธัญวิชญ์ เกื้อกูลฤทธิวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:12:18Z
dc.date.available 2022-07-23T05:12:18Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79993
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2579 ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า โดยการเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นๆรวมถึงถ่านหินด้วย ถึงแม้ว่าการใช้ถ่านหินจะเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ ถ่านหินยังคงเป็นเชื้อเพลิงที่มีความพึ่งพาได้และราคาถูก ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดซึ่งใช้เชื้อเพลิงเป็นถ่านหินนำเข้าปริมาณมาก เพื่อที่จะบริหารจัดการถ่านหินซับบิทูมินัสและบิทูมินัสนำเข้าปริมาณมากที่ไม่เคยมีมาก่อนให้เกิดความคุ้มค่าด้านการขนส่ง และภายใต้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดโครงการสร้างศูนย์กระจายถ่านหินขึ้น ที่ตั้งของศูนย์กระจายถ่านหินนั้นมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะต้องพิจารณาปัจจัยเช่น สภาพภูมิประเทศ ชุมชน การขนส่ง และเศรษฐศาสตร์ การศึกษานี้ได้ประยุกต์กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่ในการเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุดภายใต้ทางเลือกที่ทั้งหมด จากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ และสังคมและชุมชนมากที่สุดตามลำดับ ภายหลังจากการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม ผลการศึกษาระบุว่าพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่เทพาเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตั้งศูนย์กระจายถ่านหินสำหรับภาคกลางและภาคใต้ตามลำดับ
dc.description.abstractalternative Under Power Development Plan 2015, Thailand has to diversify its heavily gas-fired electricity generation by increasing other sources of energy, including coal. Despite its controversy, coal remains the reliable and economical source of energy. As the main electricity and owner of transmission grids, Electricity Generating Authority of Thailand or EGAT is responsible to implement several coal-fired generation plants with clean coal technology. These additional plants demand high quality of imported coals. To environmentally handle and economically transport unprecedented quantities of sub-bituminous and bituminous coal, a coal center is required. The location of such facility is an important strategic decision and a paramount to the success of the energy plan as it involves many criteria, such as geography, local community, logistics, and economics. As a result, Fuzzy Analytical Hierarchy Process or Fuzzy-AHP is applied to select the most suitable location among candidates. The analysis reveals that engineering and social and society are important criteria selected by majority of experts. Having screened the potentials sites, additional economical evaluation is shown that Map Ta Phut and Thepha are the most suitable locations for siting coal centers in central and southern regions of Thailand, respectively.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1096
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายถ่านหินในประเทศไทย
dc.title.alternative Coal distribution centre site selection in Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1096


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record