DSpace Repository

การวิเคราะห์ค่าชดเชยด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมของศูนย์กระจายถ่านหิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
dc.contributor.author อิทธิศักดิ์ ธรรมมา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:12:22Z
dc.date.available 2022-07-23T05:12:22Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79998
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract ในการก่อสร้างและดำเนินการของโครงการศูนย์กระจายถ่านหินในประเทศไทยจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงต้องมีรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชนโดยรอบด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินโครงการได้ ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามูลค่า ค่าชดเชยที่เหมาะสมหรือเป็นธรรมระหว่างเจ้าของโครงการกับชุมชนโดยรอบ โดยใช้เทคนิคการเสวนา (Forum) ซึ่งจะใช้ข้อมูลจาก มูลค่าความเสียหาย (Damage Cost) และมูลค่าที่ชุมชนคาดหวัง (Social Cost) มูลค่าความเสียหาย (Damage Cost) จากการศึกษาและทบทวนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) พบว่าโครงการศูนย์กระจายถ่านหินจะก่อให้ผลกระทบ คือมลพิษทางอากาศ และมลพิษทางเสียง ดังนั้นในงานวิจัยนี้จะใช้เทคนิคทางการระบาดวิทยาเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Analysis) ร่วมกับเทคนิคการแปลงมูลค่า (Benefit Transfer Method) เพื่อหามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น สำหรับมูลค่าที่ชุมชนคาดหวัง (Social cost) หามาจากการใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามดังกล่าวจะใช้เทคนิคการสมมติเหตุการณ์ (Contingent Valuation Method) เพื่อหามูลค่าความเต็มใจยอมรับค่าชดเชย (Willingness to Accept) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าความเต็มใจยอมรับค่าชดเชยด้วยการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) สำหรับประเมินมูลค่าที่ชุมชนคาดหวัง จากผลการศึกษาพบว่า โครงการก่อให้เกิดผลกระทบด้านเสียง จากการขนส่งวัสดุในระยะก่อสร้าง และการฟุ้งระจายของฝุ่นในระยะดำเนินดำเนินการ พบว่ามีค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น 157,251,324 บาทต่อปี และจากแบบสอบถาม จำนวน 400 ตัวอย่างพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมูลค่าความเต็มใจยอมรับค่าชดเชย คือ ปัจจัยคะแนนผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ระยะทาง, ความถี่ของการเกิดโรค และระยะเวลาที่พักอาศัย โดยมูลค่าที่ประชาชนคาดหวัง(Social Cost) ที่ได้จากการคำนวณคือ 203,318,921 บาทต่อปี เมื่อนำข้อมูลที่ได้ไปจัดเสวนา พบว่าค่าชดเชยมีมูลค่า 223,664,529 บาทต่อปี
dc.description.abstractalternative For constructing and operating a coal center in Thailand, Environmental Impact Assessment (EIA) must be conducted as well as mutual agreement with a local community must be reached. The aim of this research is, therefore, to determine fair compensation by applying a Forum Method depending on Damage Cost and Social Cost. Damage Cost consists of air and noise pollution evaluations. According to EIA, emission of PM10 -- particulate matter 10 micrometers or less in diameter -- is used to analyze adverse impacts to public health by Exposure Response Function. After that, such impacts are quantified into Damage Cost by Stakeholder Analysis and Benefit Transfer Method. Social Cost simulated with a questionnaire will be analyzed by Contingent Valuation Method in order to determine willingness to accept. Moreover, defining influent factors, multiple regression analysis results in a Mathematical Model. The result show that the environmental impact in construction phase is noise pollution and air pollution in operation phase. The damage cost is 157,251,324 THB per year.Moreover, The influent factors comprise willingness to accept compensation, EI, Distance, Frequency and Time and Social cost is 203,318,921 THB per year. Consequently, The total compensation is 223,664,529 THB per year.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1094
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การวิเคราะห์ค่าชดเชยด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมของศูนย์กระจายถ่านหิน
dc.title.alternative Environmental impact compensation analysis of a coal center
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.1094


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record