dc.contributor.advisor |
สุภาพรรณ โคตรจรัส |
|
dc.contributor.author |
โสภิตา พุ่มดียิ่ง, 2521- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2006-05-27T04:41:40Z |
|
dc.date.available |
2006-05-27T04:41:40Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.isbn |
9745314315 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาการอนุมานสาเหตุความรับผิดชอบต่อการเกิดปัญหาและการแก้ไขปัญหาทางการเรียนและรูปแบบการช่วยเหลือและการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการอนุมานสาเหตุความรับผิดชอบต่อการเกิดปัญหาและการแก้ไขปัญหาทางการเรียนของนิสิตนักศึกษา จำแนกตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพศ และสาขาวิชา 3. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการช่วยเหลือและการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา จำแนกตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพศ และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นิสิตระดับปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 854 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสำรวจตนเองด้านการเรียน และแบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการช่วยเหลือและการเผชิญปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของ Dunnette's T3 ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตนักศึกษาอนุมานสาเหตุว่าตนมีความรับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาด้านการเรียนมาก แต่ทั้งตนและผู้อื่น/สิ่งอื่นรับผิดชอบต่อการเกิดปัญหาด้านการเรียน 2. นิสิตนักศึกษาโดยทั่วไปเลือกรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและการเผชิญปัญหาแบบการสร้างแรงจูงใจให้เผชิญปัญหาได้ด้วยตนเอง แบบการให้/ใช้แหล่งสนับสนุนเพื่อเผชิญปัญหาได้ด้วยตนเอง และแบบการให้/ใช้แนวทางในการแก้ปัญหา มากตามลำดับ และเลือกรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและการเผชิญปัญหาแบบการให้/รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ปานกลาง 3. นิสิตนักศึกษาทั้งชายและหญิง ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันและสาขาวิชาแตกต่างกันมีความรับผิดชอบต่อการเกิดปัญหาและต่อการแก้ไขปัญหาด้านการเรียนไม่แตกต่างกัน 4. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางของรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและการเผชิญปัญหาจำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพศ และสาขาวิชา ที่มีนัยสำคัญดังนี้ 4.1 นิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับดีเลิศ เลือกรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและการเผชิญปัญหาแบบการสร้างแรงจูงใจให้เผชิญปัญหาได้ด้วยตนเอง และแบบการให้/ใช้แหล่งสนับสนุนเพื่อเผชิญปัญหาได้ด้วยตนเอง มากกว่านิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปานกลาง 4.2 นิสิตนักศึกษาชายเลือกรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและการเผชิญปัญหาแบบการให้/รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญมากกว่านิสิตนักศึกษาหญิง ในขณะที่นิสิตนักศึกษาหญิงเลือกรูปแบบการสร้างแรงจูงใจให้เผชิญปัญหาได้ด้วยตนเองมากกว่านิสิตนักศึกษาชาย |
en |
dc.description.abstractalternative |
This research investigated 1) the attributions of responsibility for academic problems and solutions, and helping and coping orientations of university students. 2) the effects of students’ gender, field of study, and academic achievement on their attributions of responsibility for academic problems and solutions. 3) the effects of students’ gender, field of study, and academic achievement on their helping and coping orientations. Participants were 854 undergraduate students from Chulalongkorn University. The instruments used were the Responsibility Attributions and the Helping Coping Orientation Measure. Data was analyzed using a two-way ANOVA design followed by post-hoc multiple comparisons with Dunnett's T3 test. The major findings were as follow: 1. University students attributed high level of responsibility for solutions, but attributed responsibility for problems cause both to self and to others. 2. University students reported more use of self-generating model, empowerment model and direct guidance model respectively, and reported moderately use of expertise model. 3. No significant effects for students’ academic achievement and field of study on their attributions of responsibility for problems cause and for solution. 4. The two-way ANOVA yielded significant effects for students’ gender, and academic achievement on their coping and helping orientations. 4.1 Students with excellent academic achievement reported greater preference for self-generating model and empowerment model than those with moderate academic achievement. 4.2 Male students reported greater preference for expertise model than female students and female students reported greater preference for self-generating model than male students |
en |
dc.format.extent |
839813 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
พฤติกรรมการแก้ปัญหา |
en |
dc.title |
การอนุมานสาเหตุความรับผิดชอบและการเผชิญปัญหาด้านการเรียนของนิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ |
en |
dc.title.alternative |
Attributions of responsibility and coping with academic problems among university students with high and low academic achievement |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาการปรึกษา |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
ksupapun@chula.ac.th |
|