DSpace Repository

การดูดซับไอบูโพรเฟนโดยตัวกลางดูดซับแบบโครงข่ายโลหะสารอินทรีย์ MIL-53(Al) ที่เคลือบเมโสพอรัสซิลิกา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปฏิภาณ ปัญญาพลกุล
dc.contributor.author บุญฤทธิ์ ศิริรังสรรค์กุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:12:25Z
dc.date.available 2022-07-23T05:12:25Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80003
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประส่งค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสารตกค้างจากยากลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ไอบูโพรเฟน (IBP) ในนำ้เสียสังเคราะห์ โดยตัวกลางดูดซับโครงข่ายโลหะอินทรีย์ MIL-53(Al) และ MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังศึกษาเสถียรภาพของ MIL-53(Al) ในนำ้เสียสังเคราะห์ทั้งก่อนและหลังการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกา รวมถึงการศึกษาการนำตัวกลางดูดซับกลับมาใช้ใหม่ภายหลังจากฟื้นสภาพตัวกลางดูดซับด้วยเมธานอล จากผลการทดลองกระบวนการดูดซับภายใต้ระบบทีละเท พบว่า MIL-53(Al) มีอัตราเร็วในการดูดซับไอบูโพรเฟนสูงกว่าถ่านกัมมันต์ชนิดผง (PAC) โดยเข้าสู่สมดุลภายใน 75 นาที และเมื่อทำการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนต่างๆ พบว่าอัตราเร็วในการดูดซับเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยใช้ระยะเวลาในการเข้าสู่สมดุลภายใน 25 และจลนพลศาสตร์การดูดซับของตัวกลางดูดซับทั้งหมดสอดคล้องกับจลนพลศาตร์การดูดซับเสมือนลำดับที่ 2 ในขณะที่ตัวกลางดูดซับเมโสพอรัสซิลิกาเพียงอย่างเดียวไม่พบการดูดซับ โดย MIL-53(Al) มีความสามารถในการดูดซับสูงสุด เมื่อเคลือบเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนโดยโมลของ MIL-53(Al) ต่อเตตระเอธิลออร์โธซิลิเกต (TEOS) เท่ากับ 1:0.48 มีความสามารถในการดูดซับไอบูโพรเฟนสูงกว่าสัดส่วนอื่นๆ และไอโซเทอมการดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองของเรดลิช-ปีเตอร์สัน ถึงแม้ว่าการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาจะมีประสิทธิภาพในการดูดซับลดลง แต่ยังมีความสามารถในการดูดซับใกล้เคียงกับ PAC จากการศึกษาเสถียรภาพพบว่า MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกามีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นและมีการชะละลายของสารอินทรีย์และโลหะน้อยลง นอกจากนี้ MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 2 ครั้งหลังจากสกัดด้วยเมทานอล ในขณะที่ MIL-53(Al) ไม่สามารถในการดูดซับไอบูโพรเฟนได้อีกเมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งที่ 2 เนื่องจากการพังทลายของโครงสร้าง
dc.description.abstractalternative This study investigated the adsorption of Ibuprofen (IBP) from synthetic wastewater by using MIL-53(Al) and mesoporous silica-coated MIL-53(Al). Moreover, stability of MIL-53(Al) before and after mesoporous silica coating and reusability after regeneration by methanol were evaluated. Adsorption studies revealed that MIL-53(Al) has significantly higher adsorption rate than PAC. Ibuprofen reached equilibrium within 75 minutes. Mesoporous silica-coated MIL-53(Al) exhibited higher adsorption rate and reached equilibrium within 25 minutes. The adsorption kinetics of adsorbents were fitted with pseudo 2nd order equation. While pure mesoporous silica could not adsorb ibuprofen. From obtained adsorption isotherms, MIL-53(Al) exhibited highest adsorption capacity. While mesoporous silica coating at mole ratio of MIL-53(Al):TEOS at 1:0.48 showed adsorption capacity higher than other ratios. The adsorption isotherms followed Redlich-Perterson isotherm. Mesoporous silica-coated MIL-53(Al) showed a lower adsorption capacity than the pristine MIL-53(Al) but similar to PAC. MIL-53(Al) Coating mesoporous silica on MIL-53(Al) could increase the stability of the adsorbent by reducing organic and metal release. Mesoporous silica-coated MIL-53(Al) could be reused for 2 cycles. While pristine MIL-53(Al) could not adsorb ibuprofen at all after 2 cycles regeneration due to the structure collapse.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1294
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การดูดซับไอบูโพรเฟนโดยตัวกลางดูดซับแบบโครงข่ายโลหะสารอินทรีย์ MIL-53(Al) ที่เคลือบเมโสพอรัสซิลิกา
dc.title.alternative Adsorption of ibuprofen by mesoporous silica coated metal organic framework MIL-53(Al)
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1294


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record