dc.contributor.advisor |
พงษ์สันธ์ บัณฑิตสกุลชัย |
|
dc.contributor.author |
ณัฐกานต์ สุรางค์ศรีรัฐ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T05:15:17Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T05:15:17Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80119 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
สาเหตุหนึ่งของปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ เกิดจากการวางแผนเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้โดยง่าย ส่งผลให้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม จากเหตุผลดังกล่าว ดัชนีการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรนำมาใช้ประกอบการวางแผนพัฒนาระบบจราจรและการขนส่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ดัชนีการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะสำหรับพื้นที่กรุงเทพเขตชั้นใน ในบริบทของการเดินทางจากจุดศูนย์กลางของแขวงหนึ่งไปยังจุดศูนย์กลางของอีกแขวงหนึ่ง ปัจจัยที่ใช้ประกอบการคำนวณดัชนีการเข้าถึง ได้แก่ เวลาในการเดินทางทั้งหมด มูลค่าเวลา และปริมาณการเดินทาง เพื่อให้ทราบถึงสภาพการเดินทางในปัจจุบัน และนำเสนอแผนที่สีที่แสดงความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าบริเวณที่มีดัชนีการเข้าถึงสูง กระจุกตัวอยู่บริเวณเขตพระนครและใจกลางเมือง และมีแนวโน้มลดลงเมื่อห่างออกจากบริเวณดังกล่าว โดยดัชนีการเข้าถึงมีค่าอยู่ในช่วง 0.54 ถึง 4.12 และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.57 โดยแขวงที่มีดัชนีการเข้าถึงมากที่สุดคือแขวงวังใหม่ และแขวงบางขุนนนท์มีดัชนีการเข้าถึงต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบดัชนีการเข้าถึงในปัจจุบัน กับดัชนีการเข้าถึงเมื่อเปลี่ยนจากการเดินเท้าเข้าสู่สถานีขนส่งสาธารณะเป็นการเดินทางรูปแบบอื่น พบว่าการเข้าสู่สถานีขนส่งด้วยรถจักรยานยนต์ ส่งผลให้ดัชนีการเข้าถึงลดลง ในขณะที่การเข้าสู่สถานีขนส่งด้วยจักรยานและการปรับปรุงคุณภาพทางเท้าให้ประชาชนสามารถเดินเท้าได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลให้ดัชนีการเข้าถึงเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาพบว่า การปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึงโดยการใช้รถจักรยานยนต์เข้าสู่สถานีขนส่งเป็นนโยบายที่ไม่มีประสิทธิภาพ และควรส่งเสริมการใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อสถานีขนส่งและการปรับปรุงคุณภาพทางเท้า |
|
dc.description.abstractalternative |
One of the causes of traffic congestion in Bangkok is the lack of inclusive planning for public transport. This study aimed to analyze the public transport accessibility index, a significant factor that should be taken into consideration when planning for transport development, for the inner core of Bangkok in terms of traveling from the centroid of one subdistrict to another. The factors used to calculate were total travel time, the value of time, and the number of trips. To depict the spatial inequality, the accessibility index color map showed that areas with high index concentrated in Phra Nakhon and the city center and tended to decrease when away from these areas. This index ranged from 0.54 to 4.12 with an average of 1.57. The area with the highest index was Wang Mai, while the lowest one was Bang Khun Non. Comparing the current index to switching from walking access to transit stations to other modes, the results came to the following conclusions. The index of accessing transit stations by motorcycle decreased while accessing by bicycle and by walking faster increased. Therefore, improving accessibility by motorcycles is an ineffective policy. Accordingly, the use of bicycles to connect public transport system should be promoted and the pedestrian should be improved. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.916 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
ดัชนีการเข้าถึงของระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครและการประยุกต์ใช้งาน |
|
dc.title.alternative |
Public transport accessibility index for Bangkok and its application |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.916 |
|