DSpace Repository

การประยุกต์ใช้กรอบการบริหารจัดการแบบ P-O-L-C เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.author ณัฐนนท์ เส้งวั่น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:36:46Z
dc.date.available 2022-07-23T05:36:46Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80267
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการ และแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภายใต้หลักการ POLC ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบเผชิญหน้ากับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย ฝ่ายปกครอง ตำรวจ สาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน และผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเสนาค่อนข้างมีความสอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการแบบ POLC ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน กล่าวคือศูนย์ดังกล่าวได้มีการวางมาตรการแก้ไขปัญหายาเสพติดใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปราบปราม ด้านการป้องกัน และด้านการบำบัดรักษา เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การเตรียมการ การปฏิบัติ และการส่งต่อความยั่งยืน ทั้งนี้การศึกษาครั้งนี้พบว่าบทบาทภาวะผู้นำถือเป็นส่วนสำคัญในการประสานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้ามาร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยการเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติ การกำหนดเป้าหมาย การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดโครงสร้าง การมอบหมายภารกิจหน้าที่ และการลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการควบคุมการปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามศูนย์ดังกล่าวยังขาดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภายนอกอย่างยั่งยืน ได้แก่ สถาบันการศึกษา กรมราชทัณฑ์ และกรมคุมประพฤติ อีกทั้งยังขาดการกระตุ้นสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนแนวโน้มการควบคุมการปฏิบัติในระยะยาวมีความเข้มข้นลดลง ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตำแหน่งของผู้อำนวยการศูนย์ดังกล่าว
dc.description.abstractalternative The objective of this independent study is to investigate the management and sustainable drug problem-solving guidelines of Drug Prevention and Suppression Operations Center at Sena district in Phra Nakhon Si Ayutthaya province under the POLC principle which is qualitative research by using in-depth interview method with 10 people that divided into 6 groups consisting of Administration, Police, Public Health, Local Government Organization, Village Headman and Drug Related Person. According to the findings, the study found that the management of Drug Prevention and Suppression Center in Sena district is quite agreeable with the POLC management principle which is one of the important things that helps to determine a sustainable solution to the problem of drug addiction. In other words, the center has put corrective measures drug problems in three aspects including suppression, protection and treatment to lead a solution of drug problems in villages/communities which divided into three main stages--namely preparation, operation, and sustainability. However, this study found that leadership play an important role in coordinating all sectors including government sector, private sector and public sector to join in the integration of solving drug problems in the area from beginning to the end by participating in the planning of operation, goal setting, setting objectives, structuring, assigning tasks, and action, as well as controlling practices for sustainable drug problem solving. However, the center still lacks sustainable external institutions involvement including educational institutions, Department of Corrections, and Department of Probation. Besides, there’s also a lack of stimulation to motivate workers as well as the tendency to control practices in the long term that has decreased in concentration which resulted from the change in position of the center director.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.413
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การประยุกต์ใช้กรอบการบริหารจัดการแบบ P-O-L-C เพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน:กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
dc.title.alternative Application of the P-O-L-C framework for sustainable solution of drug problem : a case study of narcotics prevention and suppression operation center, Sena district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.413


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record