DSpace Repository

พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok

Show simple item record

dc.contributor.advisor สราวุธ อนันตชาติ
dc.contributor.author จิตวัฒน์ สารตันติพงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:39:00Z
dc.date.available 2022-07-23T05:39:00Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80321
dc.description สารนิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 219 คน อายุระหว่าง 18 – 37 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้งานในช่วงวัย Generation Y และ Z ที่เคยใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ผลการวิจัยวิจัยพบว่า ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ทั้งด้านการรับรู้ ทัศนคติ ความตั้งใจใช้งาน และความพึงพอใจค่อนข้างมาก นอกจากนั้น พฤติกรรมการใช้งานยังมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อแอปพลิเคชัน TikTok อันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ในด้านความคิด ความรู้สึก และการกระทำ กล่าวคือ ผู้ใช้งานมีพฤติกรรมต่อแอปพลิเคชัน TikTok มากเพียงใด ก็จะยิ่งส่งผลต่อความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok สูงเช่นเดียวกัน ขณะที่ช่วงวัย Generation Z มีพฤติกรรมการใช้งานในด้านความตั้งใจใช้งานมากกว่าช่วงวัย Generation Y อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.description.abstractalternative This survey research study had two objectives: 1) to study users’ behavior and engagement on TikTok application, and 2) to study the relationship between the two variables. To achieve these objectives, online questionnaires were distributed to 219 participants, aged between 18 and 37 years old, known as Generations Y and Z, who used TikTok application at least once a week within the last two months, and living in Thailand. The results show high scores on consumer’s perception, attitude, usage intention, and satisfaction. In addition, there are significant, positive correlations between such users’ behaviors and the users’ engagement factor (that is, cognitive, affective, and conative components). In other words, the more users’ behavior using the TikTok application, the higher users’ engagement on TikTok application. Lastly, Generation Z had more usage intention than Generation Y. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.326
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title พฤติกรรมและความผูกพันของผู้ใช้งานต่อแอปพลิเคชัน TikTok
dc.title.alternative Users’ behavior and engagement on TikTok application
dc.type Independent Study
dc.degree.name นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นิเทศศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.326


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Comm - Independent Studies [117]
    สารนิพนธ์ คณะนิเทศศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record