dc.contributor.advisor | ตรัย ธารพาณิช | |
dc.contributor.author | ศรางลักษณ์ แซ่โป่ง | |
dc.contributor.author | อริสรา เชียงแรง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-08-11T07:00:10Z | |
dc.date.available | 2022-08-11T07:00:10Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80396 | |
dc.description | โครงการปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 | en_US |
dc.description.abstract | โรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นหนึ่งในโรคที่พบอุบัติการณ์การเกิดได้มากในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่มีอัตราการ ลุกลามและเสียชีวิตค่อนข้างสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงได้รับการวินิจฉัยในระยะลุกลามที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ทำให้การใช้ยา เคมีบำบัดจึงเป็นทางเลือกหลักในการรักษา โดยสูตรยาเคมีบำบัด gemcitabine-cisplatin เป็นสูตรมาตรฐานที่ แนะนำในหลายแนวทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเก็บข้อมูลการใช้ยาเคมีบำบัดสูตรผสม gemcitabine- cisplatin ในไทย งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดสูตรผสม gemcitabine-cisplatin สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีในระยะแพร่กระจายในประชากรไทย งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะแพร่กระจายใน ผู้ป่วยที่เข้ารับกรรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ผลการวิจัยพบว่ามีผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 32 ราย โดยมีอายุเฉลี่ยเป็น 60.03 + 8.71 ปี พบการลุกลาม ของมะเร็งที่ตับมากที่สุด 18 ราย (ร้อยละ 56.3 รองลงมาคือต่อมน้ำเหลือง 8 ราย (ร้อยละ 25) โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วย ได้รับยาจำนวน 6 รอบ และได้รับขนาดยา gemcitabinc และ cisplatin โดยเฉลี่ยเป็น 1,397.28 และ หืรน38.29 มิลลิกรัม ตามลำดับ ประสิทธิผลในผู้ป่วยที่ได้รับยา gemcitabine-cisplatin มีมัธยฐานอัตราการรอดชีวิตโดยรวม เป็น 33 เดือน และมัธยฐานอัตราการอยู่รอดโดยโรคสงบเป็น 13 เดือน โดยมีผู้ป่วยที่ก้อนมะเร็งตอบสนองบางส่วน จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 18.8), ผู้ป่วยที่โรคคงที่ 10 ราย (ร้อยละ 31.3 และผู้ป่วยที่โรคลุกลาม 16 ราย (ร้อยละ 50) สำหรับอาการไม่พึงประสงค์พบว่าผู้ป่วยจำนวน 22 ราย (ร้อยละ 68.8 เกิดโรคไตเรื้อรัง และผู้ป่วยจำนวน 2 ราย (ร้อยละ 6.3) เกิดไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรงหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยเกิดภาวะโลหิตจาง ชนิดไม่รุนแรง 30 ราย (ร้อยละ 93.8) ภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำชนิดไม่รุนแรง 19 ราย (ร้อยละ 59.4), ภาวะ เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำชนิดรุนแรง 14 ราย (ร้อยละ 43.8) และ มีเกล็ดเลือดต่ำชนิดรุนแรง 2 ราย (ร้อยละ 6.3) ยาเคมีบำบัดสูตรผสม gemcitabine-cisplatin มีอัตราการรอดชีวิตโดยรวมสูงกว่าการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่ง อาจเป็นผลมาจากการได้รับยารักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นหลังจากครบรอบการรักษาหรือมีการลุกลามของโรค ประกอบ กับมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยน้อย จึงทำให้การแปลผลข้อมูลอาจสูงกว่าความเป็นจริงได้ แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการอยู่รอด โดยโรคสงบ ซึ่แสดงถึงประสิทธิภาพของยายังคงมีผลใกล้เคียงกับการศึกษาที่ผ่านมา โดยผลข้างเคียงที่พบมาก ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ และการทำงานของไตผิดปรกติ โดยส่วนใหญ่พบในชนิดไม่รุนแรง จึง ถือว่าเป็นสูตรยาเคมีบำบัดที่มีความเหมาะสมสำหรับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะ สุดท้ายและระยะแพร่กระจาย | en_US |
dc.description.abstractalternative | Cholangiocarcinoma is the predominant cancer in Thailand, which has a relatively rapid progression and fatality rate. Most patients are diagnosed at an advanced stage and cannot be treated with surgery, so combination chemotherapy with gemcitabine-cisplatin is used as an alternative standard treatment. This study was designed to determine the efficacy and safety of a combined chemotherapy gemcitabine-cisplatin in Thai cholangiocarcinoma patients. This research is a descriptive retrospective study conducted on patients with metastasis cholangiocarcinoma among Thai patients at King Chulalongkorn Memorial Hospital from January 1, 2017, to December 31, 2020. Thirty-two participants were included in the study. Their average age was 60.03 + 8.71 years old. The most common metastasis cancers were liver (56.3%) and lymph node (25%). Patients received an average of six cycles, and the mean doses of gemcitabine and cisplatin were 1,397.28 and 38.29 mg, respectively. The results showed that patients who received gemcitabine-cisplatin had a median overall survival of 33 months, median progression-free survival of 13 months, with 6 patients (18.8%) having a partial response to cancer, 10 patients with stable disease (31.3%), and 16 patients (50%) with disease progression. Adverse events were 22 patients (68.8%) developed chronic kidney disease, and 2 patients (6.3%) had severe acute renal failure during chemotherapy. In addition, most of the 30 patients (93.8%) had mild grade anemia, 19 patients (59.4%) had mild grade neutropenia, followed by 14 patients (43.8%) who had severe grade neutropenia, and 2 patients (6.3%) had severe grade thrombocytopenia. Combined chemotherapy semcitabine-cisplatin has higher overall survival than the previous study, probably caused by treatment confounding after finishing this regimen or progression and small sample size. Consequently, the results may be overestimated. However, progression-free survival, which represents efficacy, is still like the previous study. This regimen has manageable side effects such as anemia, neutropenia, and decreased renal function. In conclusion, this regimen is an effective treatment option for palliative care in end-stage and metastatic cholangiocarcinoma patients. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มะเร็ง -- ผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | ท่อน้ำดี -- มะเร็ง | en_US |
dc.title | การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยา gemcitabine-cisplatin แบบเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะแพร่กระจายในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย | en_US |
dc.title.alternative | Efficacy and safety of gemcitabine-cisplatin in metastatic cholangiocarcinoma patient: A Retrospective study | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี | en_US |
dc.subject.keyword | gemcitabine-cisplatin | en_US |