DSpace Repository

ผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แจ้งเตือนแพทย์เกี่ยวกับผลทดสอบความไวต่อ ยาต้านจุลชีพเพื่อปรับลดยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลแพร่

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์
dc.contributor.author ชริศา บุญศรี
dc.contributor.author วิมลรัตน์ วชิรวาทการ
dc.contributor.author อัชฌา ดุลยพจน์เทวา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-08-11T07:31:36Z
dc.date.available 2022-08-11T07:31:36Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80397
dc.description โครงการปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนีเป็นงานวิจัยประเภทเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แพร่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของปี พ.ศ.2563 และ พ.ศ.2564 โดยในปี พ.ศ.2563 เป็นปีที่ยังไม่มีการ นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือนเรื่องผลเพาะเชื้อและความไวต่อยาโดยเภสัชกรแก่แพทย์มาใช้ในโรงพยาบาล แพร่ ขณะที่ในปี พ.ศ.2564 เป็นปีที่มีการนำโปรแกรมฯ มาใช้ในโรงพยาบาลแพร่เป็นปีแรก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการปรับลดยาต้านจุลชีพ อัตราการเกิดเชื้อดื้อยา และผลการรักษาของผู้ป่วยก่อนและหลังการ ใช้โปรแกรมฯ จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วย 59 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ 28 คน และกลุ่มที่มีโปรแกรมฯ 31 คน ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลลักษณะทั่วไปไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม สำหรับอัตราการปรับลดยาต้านจุลชีพในกลุ่มที่มีโปรแกรมฯ คิดเป็นร้อยละ 76.7 สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ ซึ่งคิด เป็นร้อยละ 64.3 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ส่วนอัตราการเกิดเชื้อดื้อยา 8 ชนิด ที่สำคัญที่ใช้เป็นสัญญาณเตือนระดับประเทศ พบว่า ในกลุ่มที่มีโปรแกรม ฯ มีผู้ป่วยที่พบเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด 8 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 ของผู้ป่วยที่พบเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ ที่มีผู้ป่วยที่ พบเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด 6 คน คิดเป็นร้อยละ 21.4 เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่พบเชื้อดื้อยาในกระแสเลือดต่อผู้ป่วยที่ พบเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิดในกระแสเลือด พบว่าในกลุ่มที่มีโปรแกรมฯ มีผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด คิดเป็น ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยที่พบเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิดในกระแสเลือด ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ ซึ่งพบ ผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาในกระแสเลือดคิดเป็นร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่ พบเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิดในกระแสเลือด อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ในส่วนของผลการรักษาของผู้ป่วย พบว่าทั้ง ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ระยะเวลาในการใช้ยาต้านจุลซีพ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างทั้งสองกลุ่ม (p > 0.05) แต่ในส่วนของผลการจำหน่ายพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้าน การเสียชีวิตในโรงพยาบาล โดยกลุ่มที่มีโปรแกรมฯ มีผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล 11 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5 มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ ซึ่งพบ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10.7 (P < 0.05) โดยสรุป ผลของการมีโปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือนเรื่องผลเพาะเชื้อและความไวต่อยาโดยเภสัชกรแก่แพทย์ต่ออัตราการปรับลดยาต้านจุลชีพ อัตราการเกิดเชื้อดื้อยาของผู้ป่วยในระยะสั้นเพียง 3 เดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการ ไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือน แต่ในด้านผลกรรักษาพบว่ากลุ่มที่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือน เสียชีวิตในโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ en_US
dc.description.abstractalternative This retrospective study collected the data of patients hospitalized in Phrae Hospital from March to May of 2020 and 2021. In 2020, there was no computer program to remind physicians about antimicrobial susceptibility testing for antimicrobial de-escalation; the program was implemented in 2021. The objectives of this study are to compare the antimicrobial de-escalation rates, incidences of drug-resistant pathogens, and patient outcomes before and after implementing the program. We collected data of 59 patients; 28 were hospitalized when the program has not been implemented and 31 after its implementation. The results showed no significant differences in characteristics between the two groups. For the antimicrobial de-escalation rates, the group with the program has a higher rate at 76.7% compared to the group without the program at 64.3%, but there were no significant differences (p > 0.05). Regarding the 8 antimicrobial-resistant bacteria strains in the national strategic plan, 8 patients were infected with antimicrobial-resistant bacteria in the group with the program: 25.8% of those with bacteria in their hemoculture, which is higher than the group without the program with 6 infected patients, amounted to 21.4%. The rate of patients with antimicrobial-resistant bacteria was 40% for those with the 8 strains in their hemoculture results with the program, which is lower than without the program at 50 %; the difference was not significant (p > 0.05). The differences in the length of stay and length of antimicrobial use were not significant (p > 0.05), but in the discharge statuses, we found a significant difference in in-hospital mortality. 11 people died in the hospital with the program, which amounts to 35.5%, higher than without the program with 3 people who died in the hospital, amounted to 10.7% (p < 0.05). In conclusion, the computer program does not have significant effects on the antimicrobial de-escalation rate, the incidence of drug-resistant pathogens in a short period of 3 months. But for the patient outcomes, the in-hospital mortality with the computer program is significantly higher than without the computer program. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การใช้ยา en_US
dc.subject antimicrobials en_US
dc.title ผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์แจ้งเตือนแพทย์เกี่ยวกับผลทดสอบความไวต่อ ยาต้านจุลชีพเพื่อปรับลดยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลแพร่ en_US
dc.title.alternative Effects of computer program to remind physicians about antimicrobial susceptibility testing for antimicrobials de-escalation in Phrae Hospital en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.subject.keyword โปรแกรมคอมพิวเตอร์ en_US
dc.subject.keyword ยาต้านจุลชีพ en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pharm - Senior projects [100]
    โครงการปริญญานิพนธ์ คณะเภสัชศาสตร์

Show simple item record