Abstract:
การวิจัยกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการใช้งานสื่อดิจิทัล อธิบายแบบจำลองความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัล และอิทธิพลของแรงจูงใจทางการเมือง คุณลักษณะของสื่อดิจิทัล และการ ใช้สื่อดิจิทัลที่มีต่อความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้วิจัยใช้วิธีการ วิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จากภูมิภาค ต่าง ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 820 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างใช้สื่อดิจิทัลด้วยความถี่เฉลี่ยในระดับทุก ๆ ชั่วโมงในแต่ ละวัน โดยใช้เฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาแกรม การใช้สื่อดิจิทัลด้านการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยใช้ เพียงแค่หาข้อมูล ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ในขณะที่การใช้สื่อดิจิทัลด้านสังคมโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยใช้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ติดตามดาราที่ชื่นชอบ สนทนากับเพื่อน หาข้อมูลประกอบการเรียนเป็นประจำ และใช้สร้างกลุ่มเพื่อติดต่อกับเพื่อน หาข้อมูลสินค้า ติดตามข่าวสาร แสดงความเป็นตัวตนในระดับบ่อย ๆ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับคุณลักษณะสื่อดิจิทัลในด้าน ความเป็นพื้นที่สาธารณะ ความสามารถในการกระจายข่าวสาร การเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งาน และผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาได้ด้วยตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีแรงจูงใจทางการเมือง มาจากความสนใจเรื่องราวการเมืองในประเทศ มี ความคาดหวังให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย และการมีประสบการณ์ทางการเมืองจากการเรียน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า Model Chi-Square, p-value มีค่า .00 ค่า CMIN/DF = 2.59 ค่า RMSEA = 0.04 ค่า GFI = 0.91 และ ค่า CFI = 0.92 แบบจำลองความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลสรุปเป็นองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรับผิดชอบ (น้ำหนักปัจจัย = 0.94, R2= 0.88) 2) ด้านการเคารพตนเองและคนอื่นบนสื่อดิจิทัล (น้ำหนักปัจจัย = 0.92, R2= 0.85) 3) ด้านการเพิ่มพูนความรู้เรื่องการใช้สื่อดิจิทัล (น้ำหนักปัจจัย = 0.92, R2= 0.85) 4) ด้านค่านิยมและคุณธรรม (น้ำหนักปัจจัย = 0.90, R2= 0.81) 5) ด้านการปกป้องตนเองและผู้อื่นให้ปลอดภัย (น้ำหนักปัจจัย = 0.88, R2= 0.77) 6) ด้านพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตย (น้ำหนักปัจจัย = 0.78, R2= 0.60) ผลการทดสอบตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า คุณลักษณะเฉพาะของสื่อดิจิทัล (β = .307) การใช้สื่อดิจิทัลด้านสังคม (β= .259) แรงจูงใจทางการเมือง (β = .234) การใช้สื่อดิจิทัลด้านการเมือง (β = -.117) มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความเป็นพลเมืองดิจิทัลร้อยละ 36.10 ผลการทดสอบเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองบนสื่อดิจิทัลพบว่า นักเรียนกลุ่มที่มี คะแนนเฉลี่ยสะสม 3.51 – 4.00 มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลสูงกว่ากลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.50 นอกจากนี้นักเรียนกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือสังคม 3 – 4 ครั้งขึ้นไปต่อปี มีความเป็นพลเมืองสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรม 1 – 2 ครั้ง ต่อปี และกลุ่มที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมเลย อย่างมีนัยนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05