dc.contributor.author |
นพดล วัชระชัยสุรพล |
|
dc.contributor.author |
อังคนีย์ ชะนะกุล |
|
dc.contributor.author |
วีรยา ไพศาล |
|
dc.contributor.author |
ปาจรีย์ จริยวิลาศกุล |
|
dc.contributor.author |
ธันยวีร์ ภูธนกิจ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-09-05T04:04:09Z |
|
dc.date.available |
2022-09-05T04:04:09Z |
|
dc.date.issued |
2562 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80447 |
|
dc.description.abstract |
ที่มาของการวิจัย: ยาโคลิสตินเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้บ่อยในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียกรัมลบดื้อยา จากการศึกษาในผู้ใหญ่แนะนำให้ยาครั้งแรกในขนาดสูง (loading dose) แต่ในผู้ป่วยเด็กนั้นยังไม่มีการศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาโคลิสตินที่ให้ทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยเด็ก วิธีการวิจัย: การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์แบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยเด็กอายุ 2-18 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีสุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับยา colistin loading dose 4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม กลุ่มที่ 2 ไม่ได้รับยา loading dose ทั้งสองกลุ่มได้ยา maintenance dose ขนาด 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวันแบ่งให้ทุก 8-12 ชั่วโมง จากนั้นเจาะเลือดตรวจวัดระดับยาโคลิสตินเป็นระยะด้วยวิธี liquid chromatography-mass spectrometry เมื่อได้ค่าระดับยาจึงนำมาคำนวณพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ ได้แก่ ค่าความเข้มข้นสูงสุดในพลาสมา (Cmax) พื้นที่ใต้กราฟความเข้นข้นของยาในพลาสมา (AUC) ค่าการกระจายตัวของยา (Vd) ค่า Cmax/MIC ที่มากกว่า 10 เท่าถูกใช้เป็นเป้าหมายสำหรับ PK/PD index ผลการศึกษา: มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ 20 ราย อายุและน้ำหนักแสดงในรูปแบบ median (IQR) เท่ากับ 8.5 (3.5-11.3) ปี และ 21.5 (13.5-20.0) กิโลกรัม ค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์แสดงในรูปของ mean±SD ของอาสาสมัครกลุ่มที่ 1 และ 2 ได้แก่ Cmax 6.1±2.4, 4.1±1.3 มคก./มล. AUC0-∞ 29.5±13.7, 14.9±4.3 มคก./มล.*ชม. Vd 0.7±0.4, 0.6±0.3 ล./กก. อาสาสมัครกลุ่มที่ 1 ร้อยละ 70 และอาสาสมัครกลุ่มที่ 2 ร้อยละ 30 มีค่า Cmax/MIC มากกว่า 10 เท่าเมื่อค่า MIC น้อยกว่า 0.5 มคก./มล. สรุป: การให้ยาโคลิสตินแบบมี loading dose ทำให้ค่า Cmax สูงกว่าและทำให้อาสาสมัครถึงเป้าหมาย PK/PD index ได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ loading dose ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาสำเร็จโดยเฉพาะการรักษาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่ต้องการระดับยาที่สูงตั้งแต่ 24 ชั่วโมงแรกของการรักษา |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Background: Colistin is commonly used for multi-drug resistant gram-negative bacteria (MDR-GNB). In adult, colistin loading dose is recommended, however, there is lack of data in children. Objectives: We aimed to study pharmacokinetic (PK) parameters of intravenous colistin in pediatric patients. Methods: We conducted a prospective open-label PK study in children aged 2-18 years, using empiric colistin for MDR-GNB infection. Subjects were randomly assigned into group-1 with a colistin loading dose of 4 mg/kg and group-2 without loading dose. A maintenance dose of 5 mg/kg/day divided into every 8-12 hours were applied to both groups. Blood samples were sequently collected after the first dose of colistin. Plasma colistin was measured by liquid chromatography-mass spectrometry technique. First dose PK-parameters including maximum plasma concentration (Cmax), area under the curve (AUC), volume of distribution (Vd) were reported. Cmax/MIC (target >10) was used as PK/PD index. Results: Twenty subjects (60% males) were enrolled. The median (IQR) age (year) and body weight (kilogram) were 8.5 (3.5-11.3) and 21.5 (13.5-20.0). Mean (±SD) PK-parameters were Cmax 6.1±2.4, 4.1±1.3 mcg/mL; AUC0-∞ 29.5±13.7, 14.9±4.3 mcg/mL*h; Vd 0.7±0.4, 0.6±0.3 L/kg, for group 1&2, respectively. In case of MIC <0.5 mcg/mL, 70% of group 1 and 30% of group 2 had reached target of Cmax/MIC >10. Conclusion: A loading dose colistin presented with higher Cmax and more proportion of patients achieved target Cmax/MIC comparing with no loading dose regimen. Loading dose is more optimizing especially for MDR-GNB which adequate control of infection within 24 hours is related to treatment outcomes. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ปฏิชีวนะ -- เภสัชจลนศาสตร์ |
en_US |
dc.subject |
การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ |
en_US |
dc.subject |
โรคเกิดจากแบคทีเรียในเด็ก -- การรักษาด้วยยา |
en_US |
dc.title |
การศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยาโคลิสตินชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำในผู้ป่วยเด็ก : รายงานการวิจัย |
en_US |
dc.title.alternative |
Pharmacokinetic study of intravenous colistin in pediatric population |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |