Abstract:
การสังเคราะห์สารประกอบเชิงซ้อน 4, 4’- ไดไฮดรอกซีซาลไทรเอน (MSalOH[subscript 2] trien) ของสังกะสีและนิกเกิลทำได้โดยใช้ปฏิกิริยาระหว่าง 2, 4- ไดไฮดรอกซีเบนซาลดีไฮด์ โลหะ (II) แอนซิเทตและไทรเอทิลีนเททระเอมีนในอัตราส่วนโมล 2:1:1 การตรวจสอบสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะเหล่านี้ทำได้โดยใช้เทคนิคอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี โปรตอนและคาร์บอนนิวเคลียร์แมกเนติคเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี และวิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบ จากนั้นนำ MSalOH[subscript 2] trien มาสังเคราะห์พอลิยูรีเทน-ยูเรีย โดยทำปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันระหว่าง MSalOH[subscript 2] trien และไดโอโซไซยาเนตชนิดต่างๆ คือ 4, 4’- ไดฟีนิลมีเทน ไดไอโซไซยาเนต (MDI) ไอโซโฟไซยาเนต (IPD) พอลิ (1, 4-บิวเทนไดออล) โทลูอีน-2,4-ไดไอโซไซยาเนต (มวลโมเลกุล 900, PB) และพอลิ(พรอพิลีนไกลคอล) โทลูอีน-2,4-ไดไอโซไซยาเนต (มวลโมเลกุล 1000, PP) ในการสังเคราะห์โคพอลิยูรีเทน-ยูเรียทำได้โดยใช้ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันระหว่าง MSalOH[subscript 2] trien MDI และเมตา-ไซลิวลีนไดเอมีน ซึ่งการพิสูจน์เอกลักษณ์ของพอลิยูรีเทน-ยูเรียที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบและโคพอลิยูรีเทน-ยูเรียที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบทำได้โดยใช้เทคนิคอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี การวิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบ การละลาย ความหนืด การศึกษาสมบัติทางความร้อนของพอลิเมอร์ใช้เทคนิคเทอร์โมกราวิเมตริกอนาลิซิส ศึกษาการติดไฟของพอลิเมอร์ โดยการวัดค่าลิมิตติงออกซิเจนอินเดกซ์ จากการศึกษาสมบัติทางความร้อน พบว่าพอลิเมอร์ของโลหะนิกเกิลมีความสามารถทนความร้อนได้ดีกว่าพอลิเมอร์ของโลหะ สังกะสีและการใส่เมตา-ไซลิวลีนไดเอมีนในปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้โคพอลิยูรีเทน-ยูเรียมีสมบัติความเสถียรต่อความร้อนดีขึ้น