dc.contributor.author |
นวลพรรณ จันทรศิริ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2008-09-12T02:05:38Z |
|
dc.date.available |
2008-09-12T02:05:38Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8047 |
|
dc.description.abstract |
การสังเคราะห์สารประกอบเชิงซ้อน 4, 4’- ไดไฮดรอกซีซาลไทรเอน (MSalOH[subscript 2] trien) ของสังกะสีและนิกเกิลทำได้โดยใช้ปฏิกิริยาระหว่าง 2, 4- ไดไฮดรอกซีเบนซาลดีไฮด์ โลหะ (II) แอนซิเทตและไทรเอทิลีนเททระเอมีนในอัตราส่วนโมล 2:1:1 การตรวจสอบสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะเหล่านี้ทำได้โดยใช้เทคนิคอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี โปรตอนและคาร์บอนนิวเคลียร์แมกเนติคเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี และวิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบ จากนั้นนำ MSalOH[subscript 2] trien มาสังเคราะห์พอลิยูรีเทน-ยูเรีย โดยทำปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันระหว่าง MSalOH[subscript 2] trien และไดโอโซไซยาเนตชนิดต่างๆ คือ 4, 4’- ไดฟีนิลมีเทน ไดไอโซไซยาเนต (MDI) ไอโซโฟไซยาเนต (IPD) พอลิ (1, 4-บิวเทนไดออล) โทลูอีน-2,4-ไดไอโซไซยาเนต (มวลโมเลกุล 900, PB) และพอลิ(พรอพิลีนไกลคอล) โทลูอีน-2,4-ไดไอโซไซยาเนต (มวลโมเลกุล 1000, PP) ในการสังเคราะห์โคพอลิยูรีเทน-ยูเรียทำได้โดยใช้ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันระหว่าง MSalOH[subscript 2] trien MDI และเมตา-ไซลิวลีนไดเอมีน ซึ่งการพิสูจน์เอกลักษณ์ของพอลิยูรีเทน-ยูเรียที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบและโคพอลิยูรีเทน-ยูเรียที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบทำได้โดยใช้เทคนิคอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี การวิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบ การละลาย ความหนืด การศึกษาสมบัติทางความร้อนของพอลิเมอร์ใช้เทคนิคเทอร์โมกราวิเมตริกอนาลิซิส ศึกษาการติดไฟของพอลิเมอร์ โดยการวัดค่าลิมิตติงออกซิเจนอินเดกซ์ จากการศึกษาสมบัติทางความร้อน พบว่าพอลิเมอร์ของโลหะนิกเกิลมีความสามารถทนความร้อนได้ดีกว่าพอลิเมอร์ของโลหะ สังกะสีและการใส่เมตา-ไซลิวลีนไดเอมีนในปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้โคพอลิยูรีเทน-ยูเรียมีสมบัติความเสถียรต่อความร้อนดีขึ้น |
en |
dc.description.abstractalternative |
4,4’-Dihydroxysaltrien zinc and nickel complexes (MSalOH[subscript 2] trien, where M = Zn and Ni) were synthesized from the reaction between 2,4-dihydroxybenzaldehyde, metal (II) acetate and triethylenetetramine at the mole ratio of 2:1:1. These metal complexes were characterized by IR, [superscript 1]H NMR[superscript 13]C NMR spectroscopy and elemental analysis. The metal complexes were used for the synthesis of polyurethane-ureas and copolyurethane-ureas. Polyurethane-ureas were synthesized from the polymerization reaction of MSalOH[subscript 2]trien with different diisocyanates, namely 4,4’-diphenylmethane diisocyanate (MDI), isophorone diisocyanate (IPD), poly(1,4-butanediol) toluene-2,4-diidocyanate terminated prepolymer (MW 900, PB) and poly(propylene glycol) toluene-2,4-dissocyanate terminated prepolymer (MW 1000, PP). Copolyurethane-ureas were synthesiszed by polymerization reaction between MSalOH[subscript 2]trien, MDI and m-xylylenediamine. Metal-containing polymers were characterized by IR, NMR, elemental analysis, solubility and viscometry. Their thermal properties were studied by thermogravimetric analysis (TGA). Flammability of polymers was measured by limiting oxygen index (LOI). It was found that nickel-containing polymers show higher thermal stability than zinc-containing polymers. Thermal stability of copolyurethane-ureas was improved upon the addition of m-xylylenediamine in the polymerization. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
689290 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
สารประกอบเชิงซ้อน -- การสังเคราะห์ |
|
dc.subject |
โพลิยูริเธน |
|
dc.subject |
โพลิเมอร์ |
|
dc.subject |
โพลิเมอไรเซชัน |
|
dc.title |
การสังเคราะห์พอลิยูรีเทน-ยูเรียทนความร้อนจากสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะประเภทไฮดรอกซีซาลไทรเอ็น : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
Synthesis of thermally stable polyurethane-ureas from Hydroxysaltrien Metal complexes |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
nuanphun.c@chula.ac.th |
|