Abstract:
มหายุทธการวงส์ คือเรื่องราชาธิราชภาษาบาลี ประพันธ์โดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม เมื่อ พ.ศ. 2349 ทว่าต้นฉบับสาบสูญไปเป็นเวลานาน แม้ภายหลังเมื่อมีการค้นพบ ต้นฉบับแล้วก็ยังไม่มีการตีพิมพ์และเข้าถึงไม่ได้ ทำให้แทบไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องนี้มา ก่อน จุดประสงค์ประการแรกของวิทยานิพนธ์นี้จึงเป็นการปริวรรตต้นฉบับมหายุทธการวงส์จากอักษร ขอมเป็นอักษรโรมันและแปลตัวบทจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย เพื่อรักษาและเผยแพร่ตัวบทมหา ยุทธการวงส์ให้กว้างขวาง นอกจากนี้ ยังมุ่งศึกษาที่มาและลักษณะภาษาของวรรณคดีเรื่องนี้ด้วย ผล การศึกษาพบว่า มหายุทธการวงส์แปลมาจากเรื่องราชาธิราชภาษาไทยสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หน) โดยตรง ไม่ได้ใช้ตัวบทราชาธิราชสำนวนอื่นหรือเอกสารอื่นร่วมในการแปล หลักฐานสำคัญคือวรรณคดี ทั้งสองมีโครงเรื่อง ลำดับเหตุการณ์ รายละเอียด ชื่อตัวละคร และสำนวนภาษาตรงกัน ข้อความโดยมาก สามารถเทียบได้ระดับประโยคต่อประโยค และบางตอนเทียบได้กระทั่งระดับคำต่อคำ องค์ประกอบที่ไม่ ตรงกันมีน้อยมากและไม่มีนัยยะสำคัญ ความแตกต่างบางส่วนสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการตั้งใจ สร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์มหายุทธการวงส์เอง ขณะที่บางส่วนเกิดจากการใช้ตัวบทราชาธิราชสำนวน เจ้าพระยาพระคลัง(หน)ต่างสาขากับที่มีหลักฐานในปัจจุบัน ทางด้านภาษา ภาษาบาลีของมหายุทธการ วงส์มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างกับในวรรณคดีบาลีอื่นๆมาก ทั้งด้านรูปสะกด คำ ศัพท์ และไวยากรณ์ โดย ภาษาบาลีของมหายุทธการวงส์มีอิทธิพลจากภาษาไทยแทรกแซงอยู่อย่างเข้มข้น เนื่องจากกระบวนการ สัมผัสภาษาของผู้ประพันธ์ ทำให้ภาษาในมหายุทธการวงส์มีลักษณะเป็นภาษาบาลีปนไทย แตกต่างกับ วรรณคดีบาลีที่ประพันธ์ขึ้นนอกอาณาจักรสยามอย่างชัดเจน