DSpace Repository

การปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้าคงคลัง และกำหนดนโยบายการสั่งซื้อสินค้าอย่างเหมาะสม กรณีศึกษา บริษัทจัดจำหน่ายรองเท้าสตรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สิริอร เศรษฐมานิต
dc.contributor.author ชิสา ฤกษ์ศิลาธรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2022-10-05T07:44:12Z
dc.date.available 2022-10-05T07:44:12Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80585
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 en_US
dc.description.abstract ผู้วิจัยได้ทำการศึกษากรณีของบริษัทจัดจำหน่ายรองเท้าแฟชั่นสตรี ซึ่งปัจจุบันกำลังประสบปัญหาการมีสินค้าคงคลังที่เสื่อมสภาพเป็นจำนวนมาก ซึ่งสินค้าที่ทำรายได้หลักของบริษัทมีสัดส่วนไม่ถึง 50% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด ในขณะที่ระดับการให้บริการลูกค้าอยู่ในระดับ 90% งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงนโยบายการสั่งซื้อและการจัดเก็บสินค้าคงคลังประเภทที่มีความหลากหลายมากเพื่อลดปริมาณ รวมถึงต้นทุนสินค้าคงคลังในขณะที่ยังสามารถรักษาระดับการให้บริการลูกค้าให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 การศึกษาเริ่มจากการจัดลำดับความสำคัญของสินค้าด้วยวิธี ABC Classification และเลือกสินค้าที่มีความสำคัญที่สุด 126 SKU มาดำเนินการหานโยบายการสั่งซื้อที่เหมาะสมด้วยการสร้างแบบจำลองสถานการณ์มอนติคาร์โล ภายใต้สถานการณ์ที่มีปริมาณความต้องการและระยะเวลาสั่งซื้อแบบไม่คงที่ โดยได้เปรียบเทียบผลการกำหนดนโยบายระหว่างแบบปริมาณการสั่งคงที่ (Q Model) และรอบการสั่งคงที่ (P Model) พร้อมทั้งเปรียบเทียบผลลัพธ์ของนโยบายใหม่ที่กำหนดกับนโยบายปัจจุบัน เพื่อสรุปและกำหนดเป็นนโยบายที่เหมาะสมในการสั่งซื้อสินค้าในอนาคต โดยได้ใช้ข้อมูลยอดขายปี 2562 และ 2563 จากการศึกษาพบว่านโยบายแบบรอบเวลาการสั่งคงที่ (P model) โดยกำหนดรอบเวลาให้สั่งสินค้ากลุ่ม A B และ C ทุก 2 เดือน ในขณะที่กำหนดระดับการให้บริการที่ 99% เมื่อเทียบกับนโยบายปัจจุบัน สามารถลดต้นทุนรวมได้ 22.66% ในปี 2562 และ 7.19% ในปี 2563 นอกจากนี้นโยบายใหม่ยังส่งผลให้ Inventory Turnover เฉลี่ยสูงขึ้น รวมถึงระดับการให้บริการที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย en_US
dc.description.abstractalternative The research studied the case of a women's footwear distributor, that currently undergoes the problem of a large deteriorated inventory. The proportion of the main product is below 50% of all inventory whereas the level of customer service is 90%. This research aimed to improve an order policy and storage of inventory with huge variety in order to reduce the quantity and inventory costs whereas maintaining customer service level to at least 95 percent. The study started with prioritizing the products by using ABC classification theory and selecting the most important products, 126 SKUs. Then, Monte Carlo Simulation with the circumstances of variable demand and lead time are applied to determine an appropriate ordering policy. The study focused on comparing between fixed order quantity (Q Model) and fixed time period (P Model) to identify an appropriate ordering policy for the future. Finally, the results of the new policy with the current policy, which are using sales data in 2019 and 2020, were compared. According to the study, it was found that the policy of fixed time period (P model) by setting a period to order product group A B and C every 2 months and the customer service level at 98% could reduce the total costs by 19.11% in 2019 and 7.16% in 2020. Moreover, the new policy also increased the inventory turnover and the customer service level. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.264
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การควบคุมสินค้าคงคลัง en_US
dc.subject การบริหารงานโลจิสติกส์ en_US
dc.subject Inventory control en_US
dc.subject Business logistics en_US
dc.title การปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้าคงคลัง และกำหนดนโยบายการสั่งซื้อสินค้าอย่างเหมาะสม กรณีศึกษา บริษัทจัดจำหน่ายรองเท้าสตรี en_US
dc.title.alternative Improvement of inventory system and ordering policy a case study of women’s footwear distributor en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.264


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record