DSpace Repository

ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้บริโภคต่อสินค้าขาดสต๊อคเปรียบเทียบระหว่าง Gen Y และ Gen Z : กรณีศึกษาครีมบำรุงผิวและแชมพูสระผมในร้านค้าปลีกทั่วไป

Show simple item record

dc.contributor.advisor กฤษณา วิสมิตะนันทน์
dc.contributor.advisor สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
dc.contributor.author ณัฐธิดา อังควานิช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2022-10-12T09:32:14Z
dc.date.available 2022-10-12T09:32:14Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80653
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสินค้าขาดแคลน โดยศึกษาถึงปฏิกิริยาของ Gen Y และ Gen Z รวมไปถึงศึกษาถึงผลกระทบและความสูญเสียที่เกิดกับผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายและผู้ค้าปลีก โดยใช้กรณีศึกษาแชมพูสระผมและครีมบำรุงผิวกายในช่องทางค้าปลีกทันสมัยในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลผ่านการทำแบบสอบถามออนไลน์จากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คนในกรุงเทพมหานคร โดยการนำ T-test, F-test และ Chi Square มาวิเคราะห์ ซึ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งออกเป็น Gen Y 60% Gen Z 40.% และปฏิกิริยาเมื่อสินค้าขาดแคลนแบ่งออกเป็น 4 ทางเลือกคือเปลี่ยนตราสินค้า เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนร้าน กลับมาซื้อวันหลัง และไม่ซื้อสินค้า เมื่อแชมพูขาดแคลน Gen Y และ Gen Z เลือกที่จะเปลี่ยนไปซื้อตราสินค้าอื่นคิดเป็นร้อยละ 29 และร้อยละ 37 ตามลำดับ เมื่อครีมบำรุงผิวกายเมื่อขาดแคลน Gen Y และ Gen Z เลือกที่จะเปลี่ยนไปซื้อร้านอื่นคิดเป็นร้อยละ 30 และร้อยละ 30 ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าแชมพูมากที่สุดคือปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าครีมบำรุงผิวกายมากที่สุดคือปัจจัยทางด้านราคา ทั้งนี้หากสินค้าขาดแคลน ผู้ผลิตจะสูญเสียยอดขาย 1.07 บาทต่อครั้งในครีมบำรุงผิวกายและ 1.00 บาทต่อครั้งในแชมพูสระผม และผู้ค้าปลีกจะเกิดการสูญเสียยอดขาย 1.22 บาทต่อครั้งในครีมบำรุงผิวกายและ 0.96 บาทต่อครั้งในแชมพูสระผม en_US
dc.description.abstractalternative The main purpose of this research is to study the reaction of consumers to retail out-of-stock with focuses on shampoo and body lotion products in retail stores in Bangkok. It examines the difference in the reaction in two consumer groups: Gen Y and Gen Z and assesses the impact of product stockout on manufacturers and retailers. The study collected data through an online survey and received a total of 400 responses divided into Gen Y 60% Gen Z 40% and applies the methods to statistically analyze. The survey specifies 4 alternative reactions to stockout including switch brands, delay purchase, switch stores, and leave the store. Facing a stockout of the desired shampoo about 29% of Gen Y and 37% of Gen Z chose to switch brands. Facing a stockout of the desired body lotion 30% of Gen Y and 30% of Gen Z chose to switch stores. Factors found to have a significant influence on purchasing shampoo and body lotion are product and price factor respectively The manufacturer will likely incur slightly more losses than the retailer during a shortage. A shortage of shampoo products will result in a 1 Baht loss for the manufacturer and a 0.96 Baht for the retailer. A shortage of body lotion will cause the manufacturer a loss of 1.07 Baht and the retailer a loss of 1.22 Baht en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.245
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การจัดการคลังสินค้า en_US
dc.subject การกระจายสินค้าจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค -- การจัดการ en_US
dc.subject Warehouses -- Management en_US
dc.subject Physical distribution of goods -- Management en_US
dc.title ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้บริโภคต่อสินค้าขาดสต๊อคเปรียบเทียบระหว่าง Gen Y และ Gen Z : กรณีศึกษาครีมบำรุงผิวและแชมพูสระผมในร้านค้าปลีกทั่วไป en_US
dc.title.alternative A Comparison of consumer behaviors' reaction to 'Out of Stock' products between Gen Y and Gen Z consumers: a case study of skincare and hair shampoo products in the retail market place en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.245


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record