Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความเหมือนและความต่างของภาษาจีนปัจจุบันและภาษาญี่ปุ่นใน 3 ประเด็น คือ การศึกษาเปรียบเทียบรูปอักษรจีน การศึกษาเปรียบเทียบเสียงอ่านของอักษรจีนใน ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น และการศึกษาเปรียบเทียบความหมายของศัพท์ใน ทั้งสองภาษา เพื่อ สังเคราะห์ข้อได้เปรียบและข้อพึงระวังสำหรับผู้เรียนภาษาจีนที่รู้ภาษาญี่ปุ่นเทียบเท่าการสอบวัด ระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น (JLPT) ระดับ N2 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์เปรียบเทียบ รูปอักษรจีนที่ปรากฏใน HSK ระดับ 5 และ JLPT ระดับ N2 (2) ศึกษาระบบเสียงในภาษาจีนกลาง ปัจจุบันกับภาษาญี่ปุ่น และสร้างคู่เทียบเสียงอ่านอักษรจีนระหว่างภาษาทั้งสอง (3) วิเคราะห์ เปรียบเทียบความหมายของศัพท์ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นที่ปรากฏใน HSK ระดับ 5 และ JLPT ระดับ N2 และ (4) สังเคราะห์ข้อได้เปรียบและข้อพึงระวังในการเรียนภาษาจีนของผู้เรียนต่างชาติที่มีความรู้ ภาษาญี่ปุ่นเทียบเท่า JLPT ระดับ N2 ผลการศึกษาพบว่า (1) อักษรคันจิมีรูปร่างเหมือนกับคู่อักษรจีนประยุกต์เป็นจำนวนมากที่สุด (2) สามารถสร้างคู่เทียบเสียงอ่านอักษรจีนระหว่างภาษาจีนกลางปัจจุบันกับภาษาญี่ปุ่นที่เชื่อมโยงกัน ได้ แต่เป็นระบบที่ไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องใช้แนวคิดอื่นที่ปรากฏในขั้นตอนการวิจัย คือแนวคิดการเดา เสียงด้วยระบบฐานกรณ์ และประเด็นเสียงพยางค์ท้าย -n (3) ศัพท์ที่มีความหมายตรงกันทั้งใน ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่นมีจำนวนมากที่สุด และ (4) ข้อได้เปรียบในการเรียนภาษาจีนของผู้เรียน ต่างชาติที่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นเทียบเท่า JLPT ระดับ N2 เกิดขึ้นจากร่องรอยที่เด่นชัดของการยืม ภาษาจีนทั้งรูปอักษร เสียงอ่าน และความหมายของคำ แต่เมื่อยืมมาใช้แล้วก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของ ภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีการพัฒนาไปในรูปแบบของตนเอง พัฒนาการนี้ทำให้เกิดความแตกต่างเล็กน้อยจนถึง ไม่มีเค้าโครงเดิมอันจะสังเคราะห์เป็นข้อพึงระวังในการใช้ความรู้ภาษาญี่ปุ่นเพื่อศึกษาภาษาจีนต่อไป