dc.contributor.advisor |
ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ |
|
dc.contributor.author |
ชญานิศ เหมประชิตชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-11-03T02:29:30Z |
|
dc.date.available |
2022-11-03T02:29:30Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80976 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ในรูปแบบ 2x2 แฟคทอเรียล (Factorial Design) ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของ 2 ปัจจัย คือ (1) มาตรฐานความงามในโฆษณา (มาตรฐานความงามแบบดั้งเดิม และมาตรฐานความงามแบบใหม่) และ (2) ประเภทสินค้า (ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับเคาน์เตอร์แบรนด์ และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางระดับดรักสโตร์) ที่ส่งผลต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เรียนวิชาหลักการประชาสัมพันธ์ จำนวน 125 คน แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มตามเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565
ผลการวิจัยพบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และประเภทสินค้าไม่ส่งผลกระทบทางตรงต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 อีกทั้งเมื่อพิจารณาในส่วนของผลกระทบร่วมกันของทั้ง 2 ปัจจัย พบว่า มาตรฐานความงามในโฆษณาและประเภทสินค้าส่งผลกระทบร่วมกันต่อทัศนคติต่อโฆษณา แต่ไม่ส่งผลกระทบร่วมกันต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภคที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this 2x2 factorial-designed, experimental research were to examine: (1) Main effects of beauty standard (Classic Beauty/Feminine and Real Beauty) in advertising on consumer’s attitudes and purchase intention for cosmetic products, (2) Main effects of product types (Counter brand cosmetic products and Drugstore cosmetic products) on consumer’s attitudes and purchase intention for cosmetic products, and (3) Interaction effects of beauty standard in advertising and product types on consumer’s attitudes and purchase intention for cosmetic products. The experiment was conducted with 125 Communication Arts students during April 2022. The findings showed that beauty standard in advertising had no significant main effects on consumer’s attitudes and purchase intention for cosmetic products. Similarly, product types had also no significant main effects on consumer’s attitudes and purchase intention for cosmetic products. However, these two factors showed the significant interaction effect on consumer’s attitudes but had no significant interaction effect on purchase intention for cosmetic products. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.660 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
ผลของมาตรฐานความงามและประเภทสินค้าต่อทัศนคติและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของผู้บริโภค |
|
dc.title.alternative |
Effects of beauty standards and product types on consumer’s attitudes and purchase intention for cosmetic products |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิเทศศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.660 |
|