DSpace Repository

ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสติบำบัดต่อการกลับมาเสพซ้ำในกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดการติดสารเมทแอมเฟตามีน 

Show simple item record

dc.contributor.advisor สรันยา เฮงพระพรหม
dc.contributor.advisor รัศมน กัลยาศิริ
dc.contributor.author วรรณจรี มณีแสง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:36:25Z
dc.date.available 2022-11-03T02:36:25Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80989
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบ non-concurrent controlled intervention study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสติบำบัด (MBTC : Mindfulness – Based Therapy and Counseling program : MBTC)  ร่วมกับกระบวนการบำบัดฟื้นฟูด้วยโปรแกรม FAST model เปรียบเทียบกับกระบวนการบำบัดฟื้นฟูด้วยโปรแกรม FAST model ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่อการกลับมาเสพสารเมทแอมเฟตามีนซ้ำ ผู้ติดสารเมทแอมเฟตามีนที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ที่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออกถูกแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม (กลุ่มที่ได้รับการบำบัดตามกระบวนการบำบัดของโปรแกรม FAST Model)  และกลุ่มทดลอง (กลุ่มที่ได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรม MBTC ร่วมกับกระบวนการบำบัดของโปรแกรม FAST Model) กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกสติเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละประมาณ 1 ชั่วโมง และทั้งสองกลุ่มจะถูกติดตามหลังจำหน่ายกลับบ้านเป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Generalized mixed model พบว่า เมื่อติดตามผลเป็นระยะเวลา 6 เดือนหลังจำหน่ายกลับบ้าน กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความอยากเสพลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (7.89 คะแนน, 95%CI = -15.47, -0.32)  และพบว่ากลุ่มทดลองมีสัดส่วนของผู้ที่ตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ (5/35 คน) น้อยกว่าสัดส่วนของกลุ่มควบคุม (16/35 คน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (chi-square test; p-value = 0.004)  และยังพบว่ากลุ่มทดลองมีความเครียด (7.44 คะแนน, 95%CI = -12.21, -2.67) ความซึมเศร้า (2.96 คะแนน, 95%CI = -5.31, -0.6) น้อยกว่ากลุ่มควบคุม ในขณะที่มีสติมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (12.86 คะแนน, 95%CI = 9.37, 16.35) จากผลการศึกษาที่ได้นี้สามารถสรุปได้ว่า มีความเป็นไปได้ว่าการใช้โปรแกรม MBTC ร่วมกับกระบวนการบำบัดฟื้นฟูด้วยโปรแกรม FAST model และทำการติดตามผลการบำบัดเป็นระยะเวลา 6 เดือน สามารถช่วยลดการกลับมาเสพซ้ำในกลุ่มผู้ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนได้ดีกว่าการใช้กระบวนการบำบัดฟื้นฟูด้วยโปรแกรม FAST model เพียงอย่างเดียว
dc.description.abstractalternative This study was a non-concurrent controlled intervention study. The objective of this study was to study the effectiveness of Mindfulness – Based Therapy and Counseling program (MBTC) in conjunction with the rehabilitation process using the FAST model program, and compared to using the FAST model program alone. Existing programs were used to determine methamphetamine relapse among 70 patients with methamphetamine use disorder who attended rehabilitation therapy. In the process, the samples were entered and rejected and divided into two groups: the control group (group treated with FAST model program), and the experimental group (group treated with MBTC program in conjunction with FAST Model program). Both groups consisted of 35 people each. The experimental group was to practice mindfulness for 8 weeks, approximately 1 hour per week. The results of both groups were then followed up for 6 months after discharge. The results of data analysis using generalized mixed model statistics showed that, after the 6-month follow-up period after discharge, the experimental group had a statistically significantly lower mean score of craving than the control group (7.89 points, 95%CI = -15.47, -0.32). It was found that the experimental group had a statistically significant proportion of those who was detected urine positive for methamphetamine  (5/35 people) less than the control group (16/35 people) (chi-square test; p-value = 0.004). It was also found that the experimental group had less stress (7.44 score, 95%CI = -12.21, -2.67) and depression (2.96 score, 95%CI = -5.31, -0.6) than the control group. At the same time, the experimental group was statistically significantly more mindful than the control group (12.86 points, 95%CI = 9.37, 16.35). It could be concluded that the use of MBTC in combination with FAST model during a 6-month follow-up of treatment reduced relapse among methamphetamine addicts better than FAST model alone.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.624
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสติบำบัดต่อการกลับมาเสพซ้ำในกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดการติดสารเมทแอมเฟตามีน 
dc.title.alternative Effectiveness of mindfulness – based therapy and counseling program (mbtc) on relapse to methamphetamine dependence among individuals receiving methamphetamine – dependency treatment
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2020.624


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record