Abstract:
ที่มา: การรักษามะเร็งปอดด้วยยามุ่งเป้าต่อยีนอีจีแอฟอาร์ในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กระยะลุกลามที่มีการกลายพันธุ์ของตัวรับชนิดอีจีแอฟอาร์เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบันแต่อย่างไรก็ตาม การตอบสนองต่อการรักษามีความแตกต่างกันในแต่ละคน โดยบางคนมีระยะเวลาการรอดชีพโดยปราศจากโรค (PFS) 2-3 เดือน หรือบางคนมีระยะเวลาการรอดชีพโดยปราศจากโรคมากกว่า 12 เดือน ซึ่งการเดื้อยาเป็นปัญหาที่สำคัญในการรักษาและตอนนี้มียารักษาเฉพาะ แต่เนื่องจากความแตกต่างของกลายกลายพันธุ์ในเซลล์มะเร็งมะเร็งปอดชนิดไม่เล็ก การศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณการกลายพันธ์ของยีนอีจีแอฟและการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอาจช่วยทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าชนิดอีจีแอฟอาร์ในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กที่มีการกลายพันธ์ของยีนอีจีแอฟอาร์ได้
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าโดยการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กที่มีการกลายพันธ์ของยีนอีจีแอฟอาร์จากชนิดเนื้อพยาธิ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยอาสาสมัครจะได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อยีนอีจีแอฟอาร์ชนิดที่ 1 และในการศึกษาอาสาสมัครต้องรับการเจาะเลือดเพื่อตรวจการกลายพันธุ์ในเลือดทั้งก่อนและหลังการักษา โดยวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ (EGFR mutation abundance) ต่อการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์
ผลการศึกษา: งานวิจัยนี้มีอาสาสมัครเข้ามร่วมงานวิจัย 83 คน ทุกคนได้รับการการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อยีนอีจีแอฟอาร์ชนิดที่ 1และการตรวจการกลายพันธุ์ในเลือดด้วยเครื่อง IdyllaTM ctEGFR โดยอาสาสมัคร 41 คน (49.4%) ตรวจพบการกลายพันธ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษา จากการศึกษาพบว่าอาสาสมัครที่ตรวจไม่พบการกลายพันธุ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษามีอัตราการรอดชีวิตโดยปราศจากโรคยาวนานกว่ากลุ่มที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถติ 13.9 เดือน เทียบกับ 9.4 เดือน p.0.038 อาสาสมัครกลุ่มที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษา พบว่าหากใช้ค่าความแตกต่างปริมาณการกลายพันธุ์ (deltaCq)ที่ 4.31 พบว่ากลุ่มที่มี DCq มากกว่าเท่ากับ 4.31 มีระยะเวลาการรอดชีวิตโดยปราศจากโรคยาวนานกว่ากลุ่มที่มี DCq น้อยกว่า 4.31อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 10.9 เดือน เทียบกับ 6.9 เดือน P0.035
สรุปผล: จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษาเป็นปัจจัยการพยากรณ์โรคที่แย่กว่ากลุ่มที่ตรวจไม่พบการกลายพันธุ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษาด้วยยามุ่งเป้าชนิดที่ 1 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไมเล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ และการตรวจการกลายพันธุ์ในเลือดแบบกึ่งปริมาณ ค่า deltaCq สามารถเป็นปัจจัยทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าชนิดที่ 1 ได้ แต่อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล