DSpace Repository

บทบาทของปริมาณการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ ต่อการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยะดา สิทธิเดชไพบูลย์
dc.contributor.author พรวสันต์ สิมสีแก้ว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:36:36Z
dc.date.available 2022-11-03T02:36:36Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81010
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ที่มา: การรักษามะเร็งปอดด้วยยามุ่งเป้าต่อยีนอีจีแอฟอาร์ในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กระยะลุกลามที่มีการกลายพันธุ์ของตัวรับชนิดอีจีแอฟอาร์เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบันแต่อย่างไรก็ตาม การตอบสนองต่อการรักษามีความแตกต่างกันในแต่ละคน โดยบางคนมีระยะเวลาการรอดชีพโดยปราศจากโรค (PFS) 2-3 เดือน หรือบางคนมีระยะเวลาการรอดชีพโดยปราศจากโรคมากกว่า 12 เดือน ซึ่งการเดื้อยาเป็นปัญหาที่สำคัญในการรักษาและตอนนี้มียารักษาเฉพาะ แต่เนื่องจากความแตกต่างของกลายกลายพันธุ์ในเซลล์มะเร็งมะเร็งปอดชนิดไม่เล็ก การศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณการกลายพันธ์ของยีนอีจีแอฟและการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าอาจช่วยทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าชนิดอีจีแอฟอาร์ในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กที่มีการกลายพันธ์ของยีนอีจีแอฟอาร์ได้ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาไปข้างหน้าโดยการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดชนิดไม่เล็กที่มีการกลายพันธ์ของยีนอีจีแอฟอาร์จากชนิดเนื้อพยาธิ ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยอาสาสมัครจะได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อยีนอีจีแอฟอาร์ชนิดที่ 1 และในการศึกษาอาสาสมัครต้องรับการเจาะเลือดเพื่อตรวจการกลายพันธุ์ในเลือดทั้งก่อนและหลังการักษา โดยวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ (EGFR mutation abundance) ต่อการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ ผลการศึกษา: งานวิจัยนี้มีอาสาสมัครเข้ามร่วมงานวิจัย 83 คน ทุกคนได้รับการการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อยีนอีจีแอฟอาร์ชนิดที่ 1และการตรวจการกลายพันธุ์ในเลือดด้วยเครื่อง IdyllaTM ctEGFR โดยอาสาสมัคร 41 คน (49.4%) ตรวจพบการกลายพันธ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษา จากการศึกษาพบว่าอาสาสมัครที่ตรวจไม่พบการกลายพันธุ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษามีอัตราการรอดชีวิตโดยปราศจากโรคยาวนานกว่ากลุ่มที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถติ 13.9 เดือน เทียบกับ 9.4 เดือน p.0.038 อาสาสมัครกลุ่มที่ตรวจพบการกลายพันธุ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษา พบว่าหากใช้ค่าความแตกต่างปริมาณการกลายพันธุ์ (deltaCq)ที่ 4.31 พบว่ากลุ่มที่มี DCq มากกว่าเท่ากับ 4.31 มีระยะเวลาการรอดชีวิตโดยปราศจากโรคยาวนานกว่ากลุ่มที่มี DCq น้อยกว่า 4.31อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 10.9 เดือน เทียบกับ 6.9 เดือน P0.035 สรุปผล: จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษาเป็นปัจจัยการพยากรณ์โรคที่แย่กว่ากลุ่มที่ตรวจไม่พบการกลายพันธุ์ในเลือดก่อนเริ่มการรักษาด้วยยามุ่งเป้าชนิดที่ 1 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชนิดไมเล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ และการตรวจการกลายพันธุ์ในเลือดแบบกึ่งปริมาณ ค่า deltaCq สามารถเป็นปัจจัยทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าชนิดที่ 1 ได้ แต่อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล
dc.description.abstractalternative Background:  Epidermal growth factor receptor (EGFR) tyrosine kinase inhibitors (TKIs) are effective therapies for non–small cell lung cancer (NSCLC) patients with EGFR-activating mutations. However, responses vary with individuals. Intratumor heterogeneity and the relative abundance of EGFR mutations might be capable of predicting the benefit of EGFR-TKIs therapy in patients with advanced NSCLC. Objective: The aim of this study was to explore the correlation between the abundance of EGFR mutations and response to EGFR TKIs in NSCLC patients with EGFR mutations. Methods: A prospective cohort of patients with advanced NSCLC and EGFR-activating mutations treated with first-generation EGFR-TKIs at The King Chulalongkorn Memorial Hospital. Paired pre-and post-treatment samples of plasma will be obtained for determine the correlation between EGFR-mutant abundance and clinical response in patients with advanced NSCLC treated with EGFR-TKIs. Result: A total of 83 patients with advanced EGFR mutated NSCLC who received EGFR TKIs and had baseline blood samples available for EGFR mutation testing using IdyllaTM ctEGFR assay. Patients who had undetectable ctEGFR mutation at baseline had a significantly better PFS than patients who had detectable(median PFS was 13.9 and 9.4 months, respectively; p=0.038). For patients with ctEGFR mutations detected at baseline, the semi-quantitative EGFR mutation analysis using ∆Cq with cutoff values of 4.31 demonstrated patients with high ∆Cq revealed significantly better PFS (median PFS was 10.9 and 6.9 months, respectively; p=0.035) than the patients who had low ∆Cq Conclusion: This study concluded that ctDNA detected at baseline was a worse prognostic factor than ctDNA not detected before treatment with first-generation EGFR TKIs in non-small cell lung cancer patients with EGFR  mutations. The ∆Cq value may be a predictive factor for treatment response to first-generation EGFR TKIs.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1148
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title บทบาทของปริมาณการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์ ต่อการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามุ่งเป้าในผู้ป่วยมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็กที่มีการกลายพันธุ์ของยีนอีจีเอฟอาร์
dc.title.alternative The role of EGFR mutation abundance on response to EGFR TKIs in patients with EGFR mutant Advanced NSCLC 
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1148


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record