dc.contributor.advisor |
พัชร์ นิยมศิลป |
|
dc.contributor.author |
ปาริชาต ดวงแก้ว |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-11-03T02:46:09Z |
|
dc.date.available |
2022-11-03T02:46:09Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81036 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
ข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ สามารถกระจายเนื้อหาออกสู่สาธารณะได้อย่างรวดเร็ว เพราะสื่อออนไลน์เป็นช่องทางหนึ่งที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อแสดงความคิดเห็น และส่งต่อข้อมูลระหว่างกัน ด้วยเหตุนี้รัฐต่าง ๆ จึงเริ่มให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลรวมถึงสร้างมาตรการทางกฎหมายเพื่อใช้ในการจัดการกับข่าวปลอม สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐมีกฎหมายที่ใช้ในการจัดการกับข่าวปลอม แต่จากข้อเท็จจริง พบว่า การกำกับดูแลข่าวปลอมของประเทศไทยยังเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนเกินสมควร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงปัญหาของมาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการกับข่าวปลอมบนสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน รวมทั้งศึกษาขอบเขตของสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและความจำเป็นในการมีกฎหมายต่อต้านข่าวปลอมในประเทศไทย
จากการศึกษา พบว่า มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมบนสื่อออนไลน์ มีปัญหาในเรื่อง ความไม่ชัดเจนของถ้อยคำตามตัวบทกฎหมาย องค์กรที่ใช้ในการตรวจสอบข่าวปลอม การตรวจสอบการดำเนินคดีข่าวปลอมและสภาพบังคับทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมซึ่งส่งผลเป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนเกินสมควร จึงได้ทำการวิเคราะห์ถึงการกำหนดนิยาม ความมีประสิทธิภาพขององค์กรที่ใช้ในการตรวจสอบและการตรวจสอบการดำเนินคดีข่าวปลอม รวมถึงสภาพบังคับทางกฎหมายที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกเป็นสำคัญ
ดังนั้น จึงได้เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการกับข่าวปลอมในประเทศไทยว่า รัฐควรมีการกำหนดนิยามของข่าวปลอมให้มีความชัดเจนและควรต้องกำหนดสภาพบังคับทางกฎหมายในรูปแบบอื่นที่ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่มีโทษน้อยกว่าสภาพบังคับทางอาญา รวมทั้งควรมีมาตรการทางนโยบายในการกำกับดูแลองค์กรที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าการใช้เสรีภาพในการแสดงออกของตน จะไม่ถูกจำกัดโดยรัฐโดยปราศจากความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน |
|
dc.description.abstractalternative |
Fake news on social media can be spread publicly due to its availability to reach, discuss, and share. Many states, including Thailand, have shown their concern about this dissemination via their legal measures. Nevertheless, the ineffectiveness and over-deprivation of human rights and freedom of expression still exist. This thesis aims to study the problems of Thai legal measures to regulate fake news on social media and the scope of freedom of expression. In addition, the current problems and the need for a Thai anti-fake news law will be discussed. According to the study, Thai legal measures to regulate fake news on social media have revealed the ambiguity of the definition of fake news, organizations in charge of regulating fake news, court rulings, and legal sanctions, which leads to the presence of over-deprivation of human rights to freedom of expression. We recommend that the Thai anti-fake news law should have an explicit definition of fake news. Additionally, another legal sanction besides criminal sanction should be proposed in order to promote the human right to freedom of expression. Moreover, policy measures to control relevant organizations. To ensure that freedom of expression will not be unnecessarily and disproportionally restricted by the law |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.698 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดการข่าวปลอมบนสื่อออนไลน์ |
|
dc.title.alternative |
Legal measures to regulate fake news on social media. |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นิติศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.698 |
|