dc.contributor.advisor |
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร |
|
dc.contributor.author |
วรชาติ กิจเรณู |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-11-03T02:49:48Z |
|
dc.date.available |
2022-11-03T02:49:48Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81044 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง “เสียงแห่งพิษณุโลกสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา” เป็นบทประพันธ์เพลงร่วมสมัยในลักษณะของดนตรีพรรณนา ที่ผู้ประพันธ์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทบาทของแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองพิษณุโลก รวมถึงภาพบรรยายถึงวิถีการดำรงชีวิต เสมือนภาพสะท้อนแห่งนวัตวิถีของชุมชนชาวพิษณุโลกตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทประพันธ์ที่ได้แรงบันดาลใจและสื่อให้จินตนาการถึงสถานที่ต่าง ๆ วิถีชีวิตของชาวจังหวัดพิษณุโลก บทเพลงเสียงแห่งพิษณุโลกสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา มีความยาวประมาณ 30 นาที แบ่งออกเป็น 5 ท่อน ได้แก่ วัดใหญ่ พระราชวังจันทน์และศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ก๋วยเตี๋ยวห้อยขา สามล้อถีบ และเรือนแพโดยใช้ทำนองหลักของแต่ละท่อนเพลงแตกต่างกันไปตามสถานที่และการเล่าเรื่องราวของวิถีชีวิตบทเพลงประพันธ์ขึ้นภายใต้ระบบอิงกุญแจเสียงที่เน้นกลุ่มโน้ตเพนตาโทนิก เพื่อสื่อถึงความเป็นท้องถิ่นที่มีลีลาสำเนียงแบบดนตรีตะวันออก มีการนำเสนอเทคนิคการประพันธ์เพลง อัตราจังหวะ รูปแบบจังหวะ รวมทั้งมีการแปรทำนองที่หลากหลายแต่ยังคงไว้ซึ่งเสียงทำนองหลัก ช่วงท้ายของบทเพลง ผู้ประพันธ์ได้นำ “ระนาดเอก” มาผสมผสานเพื่อสร้างสีสันให้แก่วงออร์เคสตรา เพื่อสื่อถึงความเป็นบทเพลงร่วมสมัยไทยซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนความคิดสำคัญของบทประพันธ์ “เสียงแห่งพิษณุโลกสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา” นี้ |
|
dc.description.abstractalternative |
This doctoral composition “the Sounds of Phitsanulok for Chamber Orchestra” is newly-composed that the initial idea of composing was derived from program music in Western musical romanticism. The author was inspired by the roles of major tourist attractions in assuring Muang Phitsalulok’s economic strengths. The inspirational intention also gives rise to a depiction of the life of the Phitsanulok locals through generations. The aim of this composition was to build inspirations that were sprung from beautiful local places and the life of Phitsanulok people. Approximately 30 minutes in length, the composition is divided into five movements, namely Wat Yai (One of the most visited temples in Thailand), Wang Chan Palace and King Naresuan Shrine (the former King Naresuan palace and the recently erected shrine) , Kuytiew Hoy-kha (popular local food), Sam-lor Thib (Phitsanulok rickshaw), and Ruean Pae (Raft floating houses). The main theme of each movement was composed in relation to the proposed locations, and story tellings. The author emplyed tonal harmony in tandam with pentatonic scale, purposely to encourage the musical sonority of the East. It is proposed that the composition presents a musical unity, despite the changes of meters, rhythmic patterns, and having variations. Lastly, the adoption of Ranad Ek, Thai high-pitched xylophone, in the final movement asserts the principal notion of Thai contemporary composition. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1024 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : เสียงแห่งพิษณุโลกสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา |
|
dc.title.alternative |
Doctoral music composition: the sound of Phitsanulok for chamber orchestra |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.1024 |
|