DSpace Repository

อุตสาหกรรมภาพยนตร์กับ Soft Power ของจีน: กรณีศึกษาภาพยนต์ของ เจียจางเค่อ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สรวิศ ชัยนาม
dc.contributor.author ธนาภัทร ธานีรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T03:12:58Z
dc.date.available 2022-11-03T03:12:58Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81152
dc.description สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและข้อจำกัดในการเผยแพร่วัฒนธรรมของจีนผ่านภาพยนตร์ ศึกษาจุดแข็งและจุดอ่อนของการดำเนินนโยบายเผยแพร่วัฒนธรรมของจีนผ่านภาพยนตร์ และศึกษาผลกระทบต่อภาพลักษณ์จีนในเวทีระหว่างประเทศต่อการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่สะท้อนภาพลักษณ์ทางสังคมจีน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเชิงเอกสารเป็นหลัก โดยเน้นนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของจีน และผลงานภาพยนตร์ของ เจีย จางเค่อ 3 เรื่อง ได้แก่ Still Life (2006), 24 City (2008) และ A Touch of Sin (2013) มาประกอบการวิเคราะห์  ผลการศึกษาพบว่า บทบาทภาพยนตร์อาจเป็นเครื่องมือของรัฐในการทำหน้าที่ในแง่ของ Soft Power ที่รัฐพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ของชาติ แต่ผลลัพธ์จากการที่จีนพยายามทุ่มเทกับการใช้ทรัพยากรดังกล่าวไม่สามารถทำให้ประเทศในเวทีระหว่างประเทศคล้อยตามได้เสมอไป เพราะภาพยนตร์ไม่ใช่เป็นเครื่องมือที่น่าเชื่อถือในการส่งเสริมภาพลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของประเทศให้ดีขึ้น (เพื่อจุดประสงค์การเพิ่ม Soft Power) ดังนั้นการผลิตหรือส่งออกภาพยนตร์ที่มากขึ้นไม่ได้หมายถึงการเพิ่ม Soft Power เสมอไป ซึ่งเจียได้แสดงให้เห็นว่าบทบาทของภาพยนตร์เป็นได้มากกว่าแค่เครื่องมือของรัฐเพื่อการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและการสร้างอำนาจให้กับรัฐ   การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีอุตสาหกรรมบันเทิงที่น่าดึงดูดอาจสวนทางกับภาพลักษณ์ที่ดีที่รัฐพยายามส่งเสริม หรือสิ่งที่น่าดึงดูดกลับกลายมาจากภาพยนตร์ไม่ใช่เพราะแรงดึงดูดจากประเทศนั้น
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the policies and restrictions on the dissemination of Chinese culture through movies, the strengths and weaknesses of China's cultural propagation policy through movies and the impact on the international image of China on the dissemination of films that reflect Chinese social image. This study is Qualitative research, Which is mainly documented research. This study focuses on policies and strategies that related to China's film industry through Jia Zhangke's films, Still Life (2006), 24 City (2008), and A Touch of Sin (2013). The study finds that film can be a tool for the state to act in terms of Soft Power that the state seeks to improve its national image. But the result of China's efforts in utilizing such resources does not always satisfy the international because movies are not a reliable tool to promote a better image or identity of a country (for the purpose of adding Soft Power). Therefore, producing or exporting more movies does not always mean increasing soft power. Jia has shown that the role of movies is not always a government tool for promoting good image and empowering the state. The fact that a country has an attractive entertainment industry might not counter the good image like the state trying to promote. Otherwise, the attraction turned out to be from the movie, not country.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.287
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title อุตสาหกรรมภาพยนตร์กับ Soft Power ของจีน: กรณีศึกษาภาพยนต์ของ เจียจางเค่อ
dc.title.alternative Film and China’s soft power : a case study of Jia Zhangke’s films
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.287


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record