DSpace Repository

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี: กรณีศึกษา หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จ.เลย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วงอร พัวพันสวัสดิ์
dc.contributor.author สโรบล มนตรีรักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T03:13:19Z
dc.date.available 2022-11-03T03:13:19Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81181
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามวิจัยที่ว่า โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ส่งผลกระทบอย่างไรต่อเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของชุมชนไทดำบ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ OTOP นวัตวิถีในพื้นที่หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ จำนวนรวม 8 คน งานวิจัยพบว่า  ชาวไทดำมีการบริหารจัดการทางวัฒนธรรมอยู่แล้วก่อนการเข้ามาของโครงการ OTOP นวัตวิถี เช่น การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3 กลุ่ม การทำที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในลักษณะโฮมสเตย์ เป็นต้น  ดังนั้นโครงการ OTOP นวัตวิถีจึงส่งผลให้มีการเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งขึ้น เพิ่มรายได้ ด้านผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมการดำเนินโครงการ OTOP นวัตวิถีทำให้เกิดการส่งเสริมทำให้เกิดการจัดตั้งองค์กรทางเศรษฐกิจใหม่ภายในชุมชนไทดำ  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการให้วัตถุดิบในการผลิต  และการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งทางสื่อออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้จากการทำการเกษตร ส่งผลให้โครงสร้างของการบริหารจัดการที่เป็นระเบียบมากขึ้น มีการพัฒนาเกี่ยวกับการให้บริการนักท่องเที่ยว การแสดง การบริการอาหารและที่พัก เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกัน การมีผลประโยชน์เข้ามาในชุมชนก็ทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น เกิดความขัดแย้งจากการกระจายผลประโยชน์ไม่ทั่วถึงในชุมชน ทำให้เกิดผลกระทบทางลบด้านสังคมขึ้นภายในชุมชน สำหรับผลกระทบด้านวัฒนธรรม งานวิจัยพบว่าชาวไทดำส่วนใหญ่เห็นว่า OTOP นวัตวิถีได้ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อวัฒนธรรมไทดำในแง่ที่ทำให้พวกเขาเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีผู้เห็นว่า  OTOP นวัตวิถีมีผลกระทบทางลบในแง่การนำสินค้าที่ผลิตจากภายนอกมาสร้างแบรนด์ไทดำทั้งที่ไม่ได้มีเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์หรือวิถีชีวิตของชาวไทดำ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนเข้ามามากขึ้น
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to find out how the OTOP Nawatwithi Tourist Community Project affects Tai Dam village, Ban Napanard, Tambon Khao Kaeo, Loei province in terms of economic, social, and cultural aspects. In this study, the quantitative research method is used to determine the impact. In-Depth Interviews in accordance with Semi-Structured Interviews were conducted with 8 stakeholders in Tai Dam village, Ban Napanard, Tambon Khao Kaeo, Loei province. The findings of this study revealed that cultural structure management was established prior to the implementation of the OTOP Nawatwithi Tourist Community Project. For example, there are three Community Enterprises that each manage their own tourist activities, homestays, etc. As a result, the OTOP Nawatwithi Tourist Community Project has a greater impact on local agriculturists' income than on social and cultural impacts. The project's implementation improved the organizational management method, tourism service centre, arts and cultural exhibition, local food, and homestay. However, the inability to balance benefits among stakeholders in the area leads to community conflict, which reflects the project's negative social change. In terms of cultural effects, the study found that Tai Dam in Napanard village have a positive attitude toward the project, which boosts their pride as members of the Tai Dam ethnic group.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.366
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมจากโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี: กรณีศึกษา หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จ.เลย
dc.title.alternative Economic, social and cultural effect of OTOP Nawatwithi Tourist Community Project : a case of Tai Dam village, BanNapanard, Tambon Khao Kaeo, Loei province.
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.366


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [395]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record