DSpace Repository

บทเรียนจากสมรภูมิ: สงครามลับในลาวกับการปรับยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศุภมิตร ปิติพัฒน์
dc.contributor.author สุริยัน จิ๋วเจริญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T03:13:23Z
dc.date.available 2022-11-03T03:13:23Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81186
dc.description สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงหลักนิยมและแนวทางการต่อสู้คอมมิวนิสต์ที่กองทัพไทยได้กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางการเอาชนะสงครามประชาชน สารนิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งได้ใช้กรอบแนวคิดการเรียนรู้เชิงนโยบายความมั่นคง มีจุดยืนว่าการเปลี่ยนแปลงหลักนิยมและแนวทางการต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทยมีการเรียนรู้เป็นสองชั้น คือ การเรียนรู้ระดับบุคคลและการเรียนรู้ระดับองค์กร  ชั้นที่หนึ่งคือประสบการณ์ส่วนบุคคลของนายทหารไทยกลุ่มหนึ่งที่เคยเข้าร่วมสงครามลับในลาวเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง หนึ่งในบทเรียนสำคัญที่สุดจากประสบการณ์ในสงครามคือการตระหนักถึงข้อจำกัดพื้นฐานและความไม่มีประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์ตั้งแนวป้องกันนอกประเทศของสหรัฐอเมริกา และการต่อต้านการก่อความไม่สงบที่เน้นการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงตามแบบอย่างปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามซึ่งรัฐบาลทหารไทยสมัยนั้นได้นำมาใช้เป็นหลักนิยมความมั่นคงของชาติ อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ในระดับบุคคลถึงแม้ว่าจะเป็นส่วนสำคัญยิ่ง แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียงก้าวแรกเท่านั้น หลังจากสงครามลับในลาวสิ้นสุดลง นายทหารกลุ่มหนึ่งได้กลับมายังประเทศไทยและได้รับมอบภารกิจการต่อสู้คอมมิวนิสต์ นายทหารกลุ่มนั้นนำโดยพลเอกสายหยุด เกิดผล ได้ปรับเปลี่ยนหลักนิยมและแนวทางการต่อต้านการก่อความไม่สงบขึ้นใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นการเอาชนะจิตใจประชาชนและสร้างความชอบธรรมทางการเมืองโดยใช้มาตรการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง ขยายบทบาทงานด้านกิจการพลเรือนของกองทัพ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ก่อความไม่สงบที่ยอมมอบตัวให้เข้าร่วมเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย”  ชั้นที่สองคือการเรียนรู้ระดับองค์กรที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนหลักนิยม เกิดจากปัจจัยสำคัญยิ่งคือการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศมากว่าสิบห้าปี ได้สร้างโอกาสสู่การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยเช่นเดียวกับเปิดโอกาสให้เกิดการปรับหลักนิยมความมั่นคงของชาติ  เป็นช่วงเวลาที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้ซึ่งให้การสนับสนุนและมีบทบาทหลักต่อการใช้หลักนิยมใหม่ ได้ก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกและนายกรัฐมนตรี การยกระดับไปสู่หลักนิยมใหม่นี้เกิดขึ้นภายใต้การนำของเขา
dc.description.abstractalternative This independent study examines changes in Thailand’s approach to anti-communist counterinsurgency and the doctrine the Royal Thai Armed Forces employed to guide and implement national operations to win the people's war. Using a documentary research method and national security policy learning as the analytical framework, this study argues that changes in Thai counterinsurgency approach and doctrine originated in two levels of learning, i.e. the personal and the organizational. At the first level, personal experience of a group of Thai military officers who joined the Secret War in Laos was crucial. One of the most important lessons learned from the war experience was the full realization of the inherent limitations and ineffectiveness of the forward strategy and the counterinsurgency through suppression by military forces advocated by the US in the Vietnam War and adopted by the Thai military government at that time as its national security doctrine. However, the learning at the personal level, though crucial, was just the first step. After the end of the Secret war in Laos and their return to Thailand to take responsibility for anti-communist missions, these military officers, led by General Saiyud Kerdphol, pushed for shifting the counterinsurgency doctrine to the new approach, advocating winning hearts and minds of the people and enhancing the political legitimacy of the state through political and economic development measures, expanding the civilian affairs of the military, and offering opportunity for surrendered insurgents to be “national development partners”. At the organizational level of learning leading to change in the doctrine, the decisive factor was the change in the military government that ruled the country for more than 15 years, generating the opportunities for the transition to democracy as well as the adjustment in the national security doctrine. It was during this period that General Prem Tinsulanonda, a major advocate and supporter of the new doctrine, became the Commander in Chief of the Royal Thai Army and Prime Minister. And the paradigm shift toward the new doctrine took place under his leadership.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.277
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title บทเรียนจากสมรภูมิ: สงครามลับในลาวกับการปรับยุทธศาสตร์ต่อต้านการก่อความไม่สงบของไทย
dc.title.alternative Lessons learned from the battlefield : the secret war in Laos and Thailand’s counterinsurgency strategic adjustment
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.277


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record