Abstract:
การศึกษานี้เป็นแบบไปข้างหน้าในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีการตรวจสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบซี ปริมาณไวรัสตับอักเสบซีในเลือด ยีน IL-288 และการเกิดพังผืดในตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน และได้แบ่งระยะของพังผืดในตับได้ดังนี้ ระยะแรก (Metavir F0-F1) เป็นระยะที่มีค่า stiffness น้อยกว่าหรือเท่ากับ 7.1 kPa ระยะที่ 2 หรือระยะปานกลาง (F2) เป็นระยะที่มีค่า stiffness ระหว่าง 7.2-9.4 kPa ระยะที่ 3 หรือระยะรุนแรง (F3) เป็นระยะที่มีค่า stiffness ระหว่าง 9.5-14 kPa และระยะสุดท้าย (F4) หรือ โรคตับแข็งที่มีค่า stiffness มากกว่า 14 kPa การตรวจประเมินปริมาณไวรัสตับอักเสบซีในเลือดทำโดยวิธี real-time PCR assay (Abbott ค่าต่ำสุดที่ตรวจได้คือ น้อยกว่า 12 IU/ml) มีการตรวจสายพันธุ์ด้วย reverse transcriptase-polymerase chain reaction (RT-PCR) of the 5’UTR และจะถูกวิเคราะห์อย่างละเอียดโดยใช้ไพร์เมอร์เฉพาะสำหรับบริเวณที่เป็น core และ NS5B ลำดับของนิวคลีโอไทด์ของทั้ง 2 บริเวณจะถูกวิเคราะห์เพื่อหาสายพันธุ์ของไวรัสตับอักเสบโดยวิธี phylogenetic analysis จากนั้นก็หาความแตกต่างทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับเบสบนสายนิวคลิโอไทด์เพียงตำแหน่งเดียวที่ก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกันทางกายภาพ (SNPs) ของยีนอินเตอร์ลิวคิน 28 บี (IL-28B gene) โดยใช้เครื่อง TaqMan real-time PCR (ที่ตำแหน่ง rs12979860) การวิเคราะห์ข้อมูล ๆ ต่าง ทำโดย allelic discrimination (AD) software on the ABI-7900HT. ได้ตรวจ anti HCV abในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 5797 คนและ 712 คนมี anti HCV Ab positive (12.3%) แต่ถ้าเลือกเฉพาะคนที่ไม่เคยตรวจ (N=5546 ราย) มี 314 รายที่ตรวจพบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมด้วย ซึ่งคิดเป็น 5.7% และมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HIV/HCVco-infected) จำนวน 4.7 คนเข้าร่วมการศึกษาแบบตรวจ HCV แบบละเอียด ผู้ป่วยรวมทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่เป็นชาย (85.3% และใช้สารเสพติดแบบเข้าเส้น (65.5%) และอายุเฉลี่ยเท่ากับ 41.3 ปี รูปแบบการกระจายตัวของยีนไวรัสตับอักเสบซี (HCV genotype (GT)) มีดังนี้ GT1 43%, GT1 41%, และ GT6 15% ในส่วนของยีนอินเตอร์ลิวคิน 28 ปี พบว่า 53% เป็น major allele (CC) ของตำแหน่ง rs 12979860 โดยรวมพบว่า 94% ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสและมีค่าเฉลี่ยของ CD4 เท่ากับ 418 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร และ 92% มี HIV-RNA <50 copies/ml ความยืดหยุ่นของตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน พบว่ามีระยะต่าง ๆ ดังนี้ ระยะแรกเท่ากับ 33% ระยะที่ 2 หรือระยะปานกลางเท่ากับ 20% ระยะที่ 3 หรือระยะรุนแรงเท่ากับ 17% และระยะสุดท้ายหรือตับแข็งเท่ากับ 29% จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ป่วยคนไทยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะมีตัวแปรที่บอกว่าจะมีการตอบสนองต่อการรักษาได้ดีมาก ได้แก่ สายพันธุ์ HCV genotype 3 ยีน IL-28B เป็นชนิด major allele (CC) สำหรับตำแหน่ง rs 12979860 และเมื่อประเมินร่วมกับการตรวจเยื่อพังผืดในตับพบว่า 66% ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีมีข้อบ่งชี้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบซีเพื่อลดการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ นอกจากนั้นค่า Fib4 score ที่มากกว่า 3.25 อายุ HCV genotype3 duration of HCV เป็นตัวแปรอิสระที่ช่วยทำนายการเกิดโรคตับแข็ง จากการศึกษานี้ผู้ป่วยที่มี liver fibrosis >7.5kPa, HCV genotype 3, ยีน IL-28B เป็นชนิด major allele (CC) สำหรับตำแหน่ง rs 12979860 เป็นกลุ่มที่ควรจะได้รับการรักษาก่อนด้วยยาที่มีในระบบ (Pegylated interferon/ribavirin) เพราะเป็นกลุ่มที่ตอบสนองดีต่อ Pegylated interferon/ribavirin และถ้าไม่รักษาการเกิด liver fibrosis progression จะเกิดได้เร็วใน HCV genotype3 และเมื่อเป็นตับแข็งจะทำให้การรักษายากขึ้น