DSpace Repository

การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างด้วยวิธีนาโนเทคโนโลยี : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.author วิวรพรรณ สรรประเสริฐ
dc.contributor.author สุรางค์ นุชประยูร
dc.contributor.author อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-08T06:24:16Z
dc.date.available 2022-11-08T06:24:16Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81282
dc.description.abstract โรคเท้าช้าง (Lymphatic filariasis) เกิดจากหนุนพยาธิ 2 ชนิดหลักคือ Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้โรคเท้าช้างเป็นโรคทางปรสิตที่ควรกำจัดให้หมดไปภายในปี พ.ศ. 2563 โดยมีแนวทางหลักในการควบคุมและป้องกันโรคเท้าช้างคือการจัดให้มีโปรแกรมการรักษาแบบหมู่แก่ประชากรในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง และการควบคุมพยาธิภาวะ ทั้งนี้โครงการกำจัดโรคเท้าช้างขององค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป้าหมายในการควบคุมโรคให้มีอัตราความชุกของการติดเชื้อเหลืออยู่ร้อยละ 1 จากการตรวจแอนติเจนที่จำเพาะ หรือร้อยละ 0.2 เมื่อตรวจหาไมโครฟิลาเรียในกระแสเลือด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการประเมินผลการสำเร็จของโครงการจำเป็นต้องมีวิธีการวินิจฉัยที่มีความไวสูง เพื่อสามารถประเมินสถานการณ์ที่แท้จริงของโรคได้ ชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างที่มีขายในปัจจุบัน สามารถวินิจฉัยได้เฉพาะโรคเท้าช้างที่เกิดจาก W. bancrofti ยังไม่มีชุดตรวจที่มีความไวสูงสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคที่เกิดจาก B. malayi การศึกษานี้จึงได้พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง โดยตรวจหาแอนติเจน และ/หรือแอนติบอดีต่อแบคทีเรีย Wolbachia ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ตรวจพบได้ในพยาธิฟิลาเรียเท่านั้นและตรวจพบทั้งในพยาธิ W. bancrofti และ B. malayi และไม่พบปฏิกิริยาข้ามกับปรสิตชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้จากการทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยได้คัดเลือกแอนติเจน 2 ชนิด ซึ่งเป็นแอนติเจนที่มีปริมาณมากที่สุดของแบคทีเรีย และมีความเป็นแอนติเจนสูง ได้แก่ Wolbachia Surface Protein (WSP) และ peptidoglycan-associated lipoprotein (PAL) โดยจากผลการศึกษาในปีแรกได้ทำการสกัดโปรตีน จากแบคทีเรียโวลบาเชียที่แยกจากหนอนพยาธิหัวใจสุนัข และผลิต recombinant antigen ทั้งสองชนิดตลอดจนผลิต polyclonal anti-Wolbachia antibodies, polyclonal anti-rWSP antibodies และ polyclonal anti-rPAL antibodies พร้อมทั้งทำการแยกแอนติบอดีบริสุทธิ์ เพื่อทำการสังเคราะห์อนุภาคทองคำระดับนาโน (AuNPs) และนำมาติดกับแอนติบอดีเพื่อพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง ชนิด lateral flow strip ในปีที่สองนี้ผู้วิจัยได้พัฒนาชุด lateral flow ที่ใช้ตรวจหาแอนติบอดีที่โปรตีน WSP ในตัวอย่างซีรัมคนไข้พยาธิโรคเท้าช้างสามารถตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อพยาธิฟิลาเรียได้ทั้ง 2 ชนิด โดยใช้เวลาเพียง 20 นาทีในการตรวจ ทั้งนี้ยังได้ทดสอบความไวและความจำเพาะของชุดตรวจ โดยมีความไวอยู่ที่ 65.70% และมีความจำเพาะถึง 84.72% ผู้วิจัยคาดว่าชุดตรวจพยาธิฟิลาเรีย lateral flow strip นี้จะมีความเหมาะสมต่อการตรวจผู้ป่วยทั้งในสถานรักษาพยาบาลและภาคสนามได้เป็นอย่างดี en_US
dc.description.abstractalternative Lymphatic filariasis, caused by Wuchereria bancrofti and Brugia malayi, is targeted to be eliminated globally as a public health problem by the year 2020. The main intervention tool employed by the national elimination program is mass drug administration (MDA) to endemic populations, and control of morbidity. The criterion for elimination program was set at a prevalence rate below 1 % antigenemia (Ag), or below 0.2% microfilaraemia. However, diagnostic tools with high sensitivity are needed to evaluate the real situation of the disease to sustain success in lymphatic filariasis elimination. Diagnostic test kits are available only for lymphatic filariasis caused by W bancrofti. There are no diagnostic kits commercially available for B. malayi infection. In this study, we developed a diagnostic test kit by detecting Wolbachia antigen and/or specific antibodies against Wolbachia antigens. Wolbachia is bacterium found only in filarial nematodes (both W bancrofti and B. malay;). Therefore, this test kit can be used in diagnosis for both W bancrofti and B. malayi infections without crossreaction with other parasites. We selected 2 candidate Wolbachia antigens to develop the diagnostic test kit, including Wolbachia Surface Protein (WSP) and peptidoglycan-associated lipoprotein (PAL). From a proteomic study of Wolbachia of B. malayi, WSP and PAL are the most abundant and highly immunogenic antigens. In the first year of the study, we extracted Wolbachia from Dirofilaria immitis, and prepared Wolbachia crude antigen. Moreover, we prepared recombinant WSP and rPAL. Polyclonal anti-Wolbachia antibodies, polyclonal anti-rWSP antibodies and polyclonal anti-rPAL antibodies were produced and purified. These antibodies will be conjugated to gold nanoparticles (AuNPs) and develop the later flow strip for diagnosis of lymphatic filariasis. In this study, we showed that lateral flow strip could be rapidly used to detect both W. bancrofti and B. malayi. Moreover, the sensitivity and specificity of lateral flow strip were tested. The sensitivity and specificity are 65.70% and 84.72%, respectively. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2558 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โรคเท้าช้าง en_US
dc.subject โรคเท้าช้าง -- การวินิจฉัย en_US
dc.title การพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างด้วยวิธีนาโนเทคโนโลยี : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ en_US
dc.title.alternative Nanodetection of lymphatic filariasis en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record