DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางวากยสัมพันธ์และความหมาย ของคำว่า [Khmer Word] /tɨv/ ‘ไป’ และ [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมรกับสำนวนแปลภาษาไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ใกล้รุ่ง อามระดิษ
dc.contributor.advisor วิภาส โพธิแพทย์
dc.contributor.author กฤตกร สารกิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-15T04:13:09Z
dc.date.available 2022-11-15T04:13:09Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81294
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทางวากยสัมพันธ์และความหมายของคำว่า [Khmer Word] /tɨv/ ‘ไป’ และ [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมรและเปรียบเทียบรูปแบบทางวากยสัมพันธ์และความหมายของคำทั้งสองกับสำนวนแปลภาษาไทย โดยเก็บข้อมูลจากนวนิยายภาษาเขมรและฉบับแปลเป็นภาษาไทย ผลการศึกษาพบว่าคำว่า [Khmer Word] /tɨv/ ‘ไป’ และ [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมรปรากฏในกริยาวลีและ บุพบทวลี ในกริยาวลี คำทั้งสองปรากฏเป็นทั้งกริยาเดี่ยวและปรากฏร่วมกับคำกริยาอื่น เมื่อปรากฏเป็นกริยาเดี่ยวมีความหมายแสดงการเคลื่อนที่ทางกายภาพและทิศทางการเคลื่อนที่ เมื่อปรากฏร่วมกับคำกริยาอื่น ๆ สามารถปรากฏในตำแหน่งหน้าคำกริยา มีความหมายแสดงการเคลื่อนทางกายภาพหรือการเคลื่อนที่ทางความคิดและ ทิศทางการเคลื่อนที่ ปรากฏระหว่างคำกริยา มีความหมายแสดงทิศทาง และปรากฏหลังคำกริยา มีความหมายแสดงทิศทาง การเปลี่ยนสถานภาพ การณ์ลักษณะ และเจตนาของประโยค เมื่อคำทั้งสองปรากฏในบุพบทวลี มีความหมายแสดงความสัมพันธ์ทางพื้นที่ ความสัมพันธ์ทางเวลา และความสัมพันธ์ทางปริมาณ เมื่อพิจารณาสำนวนแปล พบว่ามี 3 ลักษณะ คือ 1) สามารถแปลเป็นคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยได้อย่างเทียบเท่า เมื่อคำทั้งสองปรากฏเป็นกริยาเดี่ยว ปรากฏหน้าคำกริยา ปรากฏระหว่างคำกริยา ปรากฏหลังคำกริยา (ยกเว้นความหมายแสดงเจตนาของประโยค) และปรากฏในบุพบทวลี (ยกเว้นความหมายแสดงความสัมพันธ์ทางปริมาณ) 2) แปลเป็นคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยได้ แต่ต้องปรับรูปแบบทางวากยสัมพันธ์ เมื่อปรากฏหลังคำกริยาแสดงทิศทางและการณ์ลักษณะ และ 3) แปลเป็นคำว่า ไป และ มา ในภาษาไทยไม่ได้ เมื่อปรากฏระหว่างคำกริยา (พบเฉพาะเมื่อมีคำกริยา [Khmer Word] /rɔɔk/ ‘หา’ ตามมา) ปรากฏหลังคำกริยาแสดงเจตนาของประโยค และปรากฏในบุพบทวลีแสดงความสัมพันธ์ทางปริมาณ en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study the syntactic patterns and meanings of [Khmer Word] /tɨv/ ‘go’ and [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘come’ in Khmer language and compare them with the patterns and meanings of the Thai translations. Data used in this study were collected from Khmer novels and the translated versions in Thai language. It is found that [Khmer Word] /tɨv/ ‘go’ and [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘come’ in Khmer appear in verb phrases and prepositional phrases. In the verb phrase, these two words can occur as a single verb and occur with other verbs. As a single verb, their meanings indicate both physical movement and direction. When [Khmer Word] /tɨv/ ‘go’ and [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘come’ are positioned before other verbs, their meanings convey physical or abstract movement and direction but their meanings will indicate only the direction when these two words occur between other verbs. In the case when [Khmer Word] /tɨv/ ‘go’ and [Khmer Word] /mɔɔk/ appear after other verbs, their meanings can reveal direction, changes of status, aspects, and intentions in sentences. Concerning the Thai translation, three aspects are found. 1) These two words can be translated as /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ equivalently when they appear as a single verb, in the verb phrase (except when they occur after verbs and imply intentions of the sentences) and in the prepositional phrase (except when they signify quantity). 2) When [Khmer Word] /tɨv/ ‘go’ and [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘come’ occur after other verbs and convey the direction and aspect, they may be translated to /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ in Thai but the syntactic pattern of the translated sentence must be partly changed. And 3) The words [Khmer Word] /tɨv/ ‘go’ and [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘come’ cannot be translated as /pay/ ‘go’ and /maa/ ‘come’ in Thai in three cases, namely when they occur between some verbs (particularly when they are followed by the word [Khmer Word] /rɔɔk/ ‘look for’, when they appear after verbs and signify intention in the sentence, and when they occur in the prepositional phrase implying relationship in terms of quantity. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1043
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษาเขมร -- การแปลเป็นภาษาไทย
dc.subject ภาษาเขมร -- คำกริยา
dc.subject ภาษาเขมร -- วากยสัมพันธ์
dc.subject Khmer language -- Translating into Thai
dc.subject Khmer language -- Verb
dc.subject Khmer language -- Syntax
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางวากยสัมพันธ์และความหมาย ของคำว่า [Khmer Word] /tɨv/ ‘ไป’ และ [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘มา’ ในภาษาเขมรกับสำนวนแปลภาษาไทย en_US
dc.title.alternative A comparative study of the syntactic patterns and meanings of [Khmer Word] /tɨv/ ‘go’ and [Khmer Word] /mɔɔk/ ‘come’in Khmer and their Thai translation en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ภาษาไทย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1043


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record