DSpace Repository

การขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยพินัยกรรม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชุมพร ปัจจุสานนท์
dc.contributor.author สุทิศา ศุขโชติ, 2521-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-07-17T06:25:08Z
dc.date.available 2006-07-17T06:25:08Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740309909
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/812
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract การหากฎหมายมาใช้บังคับเมื่อเกิดการขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยพินัยกรรมแบ่งได้เป็น 2 ระบบ กล่าวคือระบบที่มีการหากฎหมายมาใช้กับพินัยกรรมโดยไม่แบ่งแยกตามลักษณะของทรัพย์มรดก และระบบที่มีการหากฎหมายมาใช้กับพินัยกรรมโดยแยกตามลักษณะของทรัพย์มรดก ทั้งสองระบบนี้กำหนดจุดเกาะเกี่ยวประเภทต่างๆ เช่น ภูมิลำเนา สัญชาติ สถานที่ตั้งทรัพย์มรดก สถานที่ที่มีการทำพินัยกรรม การแสดงเจตนาในการเลือกกฎหมายของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อเป็นตัวเชื่อมกับกฎหมายที่จะนำมาใช้กับพินัยกรรมที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ซึ่งการที่ประเทศต่างๆ จะเลือกใช้จุดเกาะเกี่ยวใดกับการขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยพินัยกรรมขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้นๆ มีแนวคิดเกี่ยวกับจุดเกาะเกี่ยวนั้นอย่างไร พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 37, 39-42 บัญญัติให้มีการหากฎหมายมาใช้เมื่อเกิดกรณีการขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยพินัยกรรมตามลักษณะของทรัพย์มรดกโดยแยกออกเป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ การบัญญัติเช่นนี้ทำให้ไม่เพียงพอต่อการหากฎหมายมาใช้เมื่อเกิดการขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้ยพินัยกรรม ในกรณีที่พินัยกรรมไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับทรัพย์มรดก อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีการยอมรับการแสดงเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมในการเลือกกฎหมายมาใช้กับพินัยกรรม คงปรากฏแต่การใช้จุดเกาะเกี่ยวที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ดังข้างต้นจึงอาจส่งผลให้พินัยกรรมถูกบิดเบือนไปจากเจตนาที่แท้จริงของผู้ทำพินัยกรรม สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายในส่วนที่ว่าด้วยพินัยกรรมให้เกิดความชัดเจน สะดวกและตรงกับเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม en
dc.description.abstractalternative There are 2 systems relating to testamentary dispositions under conflict of laws rule. One is scission system and the other is unitary system. Both systems determine connecting factors as instrument for finding applicable law, such as domicile, nationality, lex situs, lex loci actus, choice of law. Domestic laws are different for each country depend on different legal thinking on testamentary dispositions. Therefore, comparative study on conflict of laws relating to testamentary dispositions is important and allows us to know what should be the appropriate system for Thailand. Under the Conflict of Laws Act B.E. 2481, Article 37,39-42 stipulated that testamentary dispositions on movable property is determined by Lex domicilii and immovable property is determined by Lex rei sitae. However these stipulations can not be apply to some cases arising from testament such as testamentary guardian appointment. Besides, Thai conflict of laws rule does not recognize choice of law in case of testament. Briefly, connecting factors depend only on objective element but not subjective. Consequently, Thai conflict of laws rule relating to testamentary dispositions should be amended by adding more connecting factors, especially the recognition of the principle of autonomy of will. en
dc.format.extent 949377 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การขัดกันแห่งกฎหมาย en
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- พินัยกรรม en
dc.title การขัดกันแห่งกฎหมายว่าด้วยพินัยกรรม en
dc.title.alternative The conflict of laws relating to testamentary dispositions en
dc.type Thesis en
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record