dc.contributor.advisor | ปรมินท์ จารุวร | |
dc.contributor.author | เนตรนภา วรวงษ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-02-03T04:03:19Z | |
dc.date.available | 2023-02-03T04:03:19Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81579 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 | |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีพิธีกรรมของชาวมอญบ้านวังกะในฐานะเครื่องมือสืบทอดและนำเสนอความเป็นมอญ พร้อมทั้งวิเคราะห์อัตลักษณ์และบทบาทของประเพณีพิธีกรรมดังกล่าวในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2561-2564 ในชุมชนมอญบ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ผลการศึกษาพบว่า ชาวมอญบ้านวังกะอพยพมาจากหลากหลายพื้นที่ในรัฐมอญ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเพณีพิธีกรรมของชาวมอญบ้านวังกะสะท้อนอัตลักษณ์การนับถือพุทธศาสนาควบคู่กับการนับถือผีบรรพบุรุษ ประเพณีสิบสองเดือนมีทั้งหมด 17 ประเพณี เป็นประเพณีระดับชุมชนที่มักเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาโดยมีวัดวังก์วิเวการามและเจดีย์พุทธคยาเป็นศูนย์กลางการประกอบพิธีกรรม ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตมีทั้งหมด 7 ประเพณี เป็นประเพณีในระดับครอบครัวและระดับชุมชนเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมในระยะเวลา เปลี่ยนผ่านของชีวิต ประเพณีสิบสองเดือนเป็นศูนย์รวมชาวมอญพลัดถิ่นในอำเภอสังขละบุรีที่อพยพมาจากที่ต่าง ๆ หลอมรวมให้เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันและก่อให้เกิดพลังทางสังคม ส่วนประเพณีเกี่ยวกับชีวิตช่วยยึดโยงความเป็นมอญดั้งเดิมจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในบริบทของการท่องเที่ยว ชุมชนมอญบ้านวังกะเปิดเป็นชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว ชาวมอญเลือกประเพณีสิบสองเดือนซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์การนับถือพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีรดน้ำต้นโพธิ์และตลาดนิพพาน และประเพณีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ ให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่วนประเพณีเกี่ยวกับชีวิตซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์การนับถือผีบรรพบุรุษยังคงแนบแน่นในวิถีชีวิตของชาวมอญบ้านวังกะ ประเพณีพิธีกรรมของชาวมอญบ้านวังกะเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่นำมาใช้เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และเป็นเครื่องมือในการธำรงและสืบทอดวัฒนธรรมความเป็นมอญ บริบทสังคมไทยส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนประเพณีพิธีกรรม แต่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นมอญบ้านวังกะอย่างเด่นชัด ขณะเดียวกันชาวมอญบ้านวังกะมีความพยายามในการธำรงและสืบทอดสำนึกชาติพันธุ์และอัตลักษณ์วัฒนธรรมความเป็นมอญผ่านการประกอบประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ ประเพณีพิธีกรรมของชาวมอญบ้านวังกะมีบทบาทในการแสดงอัตลักษณ์ความเป็นมอญและสืบทอดสำนึกชาติพันธุ์ รวมทั้งยังมีบทบาทในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดกาญจนบุรีให้น่าสนใจ โดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่น นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสร้าง ความมั่นคงทางจิตใจ รักษาระเบียบแบบแผนของสังคมมอญ ให้ความเพลิดเพลินและเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจ และเป็นศูนย์รวมและสร้างความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มชาวมอญพลัดถิ่นในอำเภอสังขละบุรี งานวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นความสำคัญของข้อมูลคติชนวิทยาประเภทประเพณีพิธีกรรมที่สัมพันธ์กับเรื่องอัตลักษณ์ รวมทั้งนำไปสู่ ความเข้าใจเรื่องคติชนสร้างสรรค์ มอญศึกษา และการศึกษาคนพลัดถิ่น | |
dc.description.abstractalternative | This study aims to study the rituals of the Mon people at Wang Ka Village as a tool to inherit and present the Mon identity, as well as analyze the identity and role of such ritual traditions in the contexts of contemporary Thai society. The researcher collected data from 2018-2021 at Wang Ka Village in Sangkhla Buri District, Kanchanaburi Province. The results showed that Mon people at Wang Ka Village migrated from various areas in Mon State in the Republic of the Union of Myanmar. The ritual traditions of the Mon people at Wang Ka Village reflect their Buddhist identity along with ancestor worship. The calendrical rites consisted of 17 community traditions, normally associated with Buddhism. Wat Wang Wiwekaram and Phutthakhaya Chedi are the centers of ceremony performing. There are 7 traditions which are family and community rituals performed during the transitional period of life. The calendrical rites centralize Mon diasporas in Sangkhla Buri District, who migrated from different places to unite and create social power. The life-related traditions help the diaspora to connect the traditional Mon from the Republic of the Union of Myanmar. In the context of tourism, the Mon community at Ban Wang Ka has opened as a tourism community. They chose the calendrical rites that reflect their identity of strict adherence to Buddhism, i.e., Songkran Tradition, Bodhi Tree Watering ritual and Nirvana Market, and boat floating tradition, to be part of tourism promotion activities. As for life-related traditions that reflect the identity of ancestor worship, they remain firmly attached to the way of life of Mon people at Wang Ka Village. The ritual tradition of Mons at Wang Ka Village is a cultural capital to create economic opportunities. Additionally, it is a tool to maintain and inherit Mon cultures. Thai social contexts have an influence on changes in ritual traditions; however, the distinctive Mon identity of Wang Ka Village is still retained. At the same time, Mon people of Wang Ka Village exert to maintain and inherit their ethnic awareness and cultural identity as Mons through various rituals and traditions. The rituals of Mons at Wang Ka Village play a role in expressing Mon identity and inheriting ethnic consciousness. It also plays a role in promoting distinctive tourism in Kanchanaburi Province. In addition, the Mon rituals play a role in building mental stability, upholding rules and regulations of Mon society, providing enjoyment and solution to frustration, and being the center of unity among Mon diasporas in Sangkhla Buri District. This research, therefore, points out the importance of ceremonial folklore data in relation to identity. It also leads to an understanding of creative folklore, Mon studies, and diaspora research. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.706 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | |
dc.title | อัตลักษณ์ความเป็นมอญกับประเพณีพิธีกรรมของชาวมอญที่บ้านวังกะ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี | |
dc.title.alternative | Mon identity and Mon rituals at Wang Ka village, Sangkhla Buri district, Kanchanaburi province | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2022.706 |