DSpace Repository

การพัฒนาอิมมูโนโครมาโทกราฟีสำหรับตรวจวัดเททราไซคลินในน้ำผึ้ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นันทิกา คงเจริญพร
dc.contributor.advisor กิตตินันท์ โกมลภิส
dc.contributor.author นิติกร เจ๊ะยอเด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-03T04:12:47Z
dc.date.available 2023-02-03T04:12:47Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81600
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
dc.description.abstract เททราไซคลิน (TC) เป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง จึงทำให้ TC ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้ง แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยา TC เป็นเวลานานและใช้อย่างไม่ถูกต้อง เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสารตกค้างในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ทำให้ในหลายประเทศมีการกำหนดระดับยา TC สูงสุดที่อนุญาตให้ตรวจพบได้ในอาหาร (MRLs) ในปัจจุบัน วิธีอิมมูโนโครมาโทรกราฟิกแอสเสย์ (ICA) หรือ แถบทดสอบ เป็นวิธีที่นิยมนำมาใช้ตรวจกันคัดกรองเบื้องต้น เนื่องจากใช้เวลาในการวิเคราะห์ผลน้อย ประเมินผลได้ด้วยสายตา และสามารถนำไปตรวจในภาคสนามหรือในหน้างานนั้นได้ นอกจากนี้แถบทดสอบยังมีประโยชน์อย่างมากในการตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพหรือกึ่งปริมาณ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอิมมูโนโครมาโทกราฟีสำหรับตรวจวัดเททราไซคลินตกค้างในน้ำผึ้ง โดยมีวิธีการเตรียมแถบทดสอบ 2 แบบ คือวิธีการทำด้วยมือ (handmade method) และวิธีการใช้เครื่องจ่ายสารระดับไมโครลิตร โดยทำการเชื่อมโมโนโคลนอลแอนติบอดี กับอนุภาคทองขนาด 40 นาโนเมตร และ TC เชื่อมกับ bovine serum albumin จากวิธีการทำแถบทดสอบด้วยมือ พบว่าแถบทดสอบมีค่าขีดจำกัดของการวัด TC ด้วยสายตา เท่ากับ 1 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และมีช่วงการวัดของแถบทดสอบ TC อยู่ในช่วง 1–100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตามการเตรียมแถบทดสอบด้วยมือมีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น ความสม่ำเสมอหรือความสามารถในการทำซ้ำ ส่งผลถึงความเข้มสีและความกว้างของแถบเส้นทดสอบ รวมทั้งการเตรียมในปริมาณมากทำได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องมือที่ใช้ เมื่อทำการเตรียมแถบทดสอบโดยใช้เครื่องจ่ายสารระดับไมโครลิตร และหาค่าความไวของแถบทดสอบ TC โดยการประเมินด้วยสายตาร่วมกับโปรแกรมอ่านค่าสี ImageJ รุ่น 1.47m พบว่าแถบทดสอบมีค่าขีดจำกัดของการวัด TC เท่ากับ 10 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร และมีช่วงการวัดของแถบทดสอบ TC อยู่ในช่วง 10–40 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อนำแถบทดสอบ TC ทดสอบปฏิกิริยาข้ามกับสารปฏิชีวนะในและนอกกลุ่ม TCs พบว่าแถบทดสอบไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกับสารปฏิชีวนะในและนอกกลุ่ม TCs จากนั้นนำแถบทดสอบ TC มาตรวจหา TC ตกค้างในตัวอย่างน้ำผึ้งพบว่า ให้ค่าความถูกต้องของการตรวจวัดในรูปของค่าอัตราการคืนกลับในช่วงยอมรับได้ที่ 93–116 % และมีค่าความแม่นยำในการตรวจวัดในรูปของค่าความแปรปรวนอยู่ในช่วงยอมรับได้ที่ 1.0–8.6 % ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จากการทดลองทั้งหมดสรุปได้ว่าแถบทดสอบ TC ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ตรวจ TC ได้อย่างน่าเชื่อถือ  
dc.description.abstractalternative Tetracycline (TC) is a broad spectrum antibiotic. It is widely used for prevention and treatment of infectious diseases in animal husbandry and apiculture. However, long term use and misuse of TC can cause the problem of drug residue in animal products. To ensure food safety for the consumers, several countries have set maximum residue limits (MRLs) for TCs in food products. Immunochromatographic assay (ICA) or test strip is currently the most popular screening method due to its short analysis time, easy result observation and on-site detection. In addition, test strip is very useful for qualitative and semi-quantitative analysis. The objective of this study was to develop an immunochromatographic assay for TC residues detection in honey. The prepared of the test strip divided into two methods : handmade method and  microliter dispenser method. Colloidal gold 40 nm was conjugated with monoclonal antibody and TC was conjugated with bovine serum albumin. Visual limit of detection (VLOD) and visual detection range of TC were found to be 1 µg mL-1 and 1–100 µg mL-1 for test strips prepared by handmade method. However, this handmade method has many limitations such as consistency or repeatability that affect color intensity and band width of the test line. In addition, strip preparation in a large quantity was difficult due to the limitation of the instruments. The test strip prepared by the microliter dispenser method was also studies for limit of detection and detection range. The color intensity of the test line was evaluated by both visual detection and scanning detection using ImageJ v.1.42m software. It was found that the VLOD was 10 ng mL-1 and the detection was in a range of 10–40 ng mL-1. The test strips were tested for cross–reactivity with other antibiotics in the TCs group and other antibiotics. It was found that the strips showed no cross–reactivity with any antibiotics. The test strips was also employed to detect TC residue in honey samples. The accuracy of the test in term of % recovery was found in the acceptable range of 93–116 % and the precision in term of the % coefficient of variation was found in the acceptable range of 1.0–8.6 %. From all results, it cloud be concluded that the developed test strips can be used in TC detection with confidence.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.63
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Agricultural and Biological Sciences
dc.title การพัฒนาอิมมูโนโครมาโทกราฟีสำหรับตรวจวัดเททราไซคลินในน้ำผึ้ง
dc.title.alternative Development of immunochromatography for tetracycline detection in honey
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีชีวภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2016.63


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record