DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาทีโนโฟเวียร์ กับการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่อง และโรคไตเรื้อรังในผู้ใหญ่ไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี

Show simple item record

dc.contributor.advisor นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล
dc.contributor.advisor เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์
dc.contributor.advisor ธนะภูมิ รัตนานุพงศ์
dc.contributor.author จิรายุ วิสูตรานุกูล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-03T04:51:52Z
dc.date.available 2023-02-03T04:51:52Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81741
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract ยาทีโนโฟเวียร์เป็นยาต้านไวรัสเอชไอวีที่ใช้เป็นส่วนประกอบของสูตรยาหลักในการรักษาผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย ยาทีโนโฟเวียร์ทำให้การทำงานของไตลดลง แต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติการณ์ รวมทั้งระยะเวลาที่ทำให้เกิดการทำงานของไตผิดปกติในผู้ใหญ่ไทยที่ใช้ยาทีโนโฟเวียร์ วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาทีโนโฟเวียร์กับการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่องและโรคไตเรื้อรัง การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ Retrospective cohort  ทำการศึกษากับผู้ใหญ่ไทยที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวีและเริ่มมารับการรักษาที่คลินิกเอชไอวี รพ.ตำรวจ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2552-31 ธันวาคม พ.ศ.2558 เปรียบเทียบอัตราอุบัติการณ์ รวมทั้งระยะเวลาของการเกิดการทำงานของไตผิดปกติในกลุ่มที่ใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีที่มีและไม่มียาทีโนโฟเวียร์เป็นส่วนประกอบในสูตรยากลุ่มละ 700 คน ผลการศึกษาพบว่า อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่องในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ คือ 27.66/1,000 คน-ปี และ 5.54/1,000 คน-ปี อัตราอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ คือ 4.52/1,000 คน-ปี และ 2.29/1,000 คน-ปี  จากการวิเคราะห์ด้วย Mixed model method พบว่า ค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยลดลงทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์มีค่าเฉลี่ยของอัตราการกรองของไตน้อยกว่า 1.92 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร (p-value = 0.022) Adjusted hazard ratio ของการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่องในผู้ป่วยที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ คือ 5.57 (95% CI 2.87-10.79, p-value <0.001) Adjusted hazard ratio ของการเกิดโรคไตเรื้อรังในกลุ่มที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ คือ 2.36 (95% CI 0.76-7.33, p-value = 0.138) อัตราการกรองของไตลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีแรกหลังเริ่มได้รับยาทีโนโฟเวียร์ การตรวจติดตามการทำงานของไตอย่างใกล้ชิดจะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติของไตในอนาคต
dc.description.abstractalternative Tenofovir disoproxil fumarate (TDF) is a one of major antiretroviral therapy of Thai HIV-infected adults. There is limited data regarding TDF use and renal function abnormality in Thai HIV-infected adults. A retrospective cohort study of Thai naïve HIV-infected adults from HIV clinic, Police General Hospital was conducted during January 2009 and December 2015 to compare the incidence rate and time to renal impairment and chronic kidney disease (CKD) in TDF and no TDF usage groups. A total of 1,400 Thai naïve HIV-infected adults were enrolled. The incidence rates of renal impairment in TDF and no TDF usage groups were 27.66/1,000 person-years and 5.54/1,000 person-years. The incidence rates of CKD in both groups were 4.52/1,000 person-years and 2.29/1,000 person-years, respectively. Mixed model method showed a decrease of eGFR in both groups. Mean difference of eGFR in both groups were 1.92 ml/min/1.73 m2 (p = 0.022). Adjusted hazard ratio of renal impairment was 5.57 (95% CI 2.87-10.79, p-value <0.001). Adjusted hazard ratio of CKD in TDF group compared to non-TDF group was 2.36 (95% CI 0.76-7.33, p-value = 0.138). Especially in TDF usage group, there were a rapidly decline of eGFR in 2-3 years after initiation of TDF. Therefore, HIV-infected patients should be carefully monitored renal function so that severity of renal impairment might be evaluated and CKD could be prevented in the future.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.715
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Medicine
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาทีโนโฟเวียร์ กับการเกิดภาวะการทำงานของไตบกพร่อง และโรคไตเรื้อรังในผู้ใหญ่ไทยที่ติดเชื้อเอชไอวี
dc.title.alternative Association between tenofovir disoproxil fumarate use with renal impairment and chronic kidney disease in Thai HIV-infected adults
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.715


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record