DSpace Repository

แนวคิดการรำละครไทยตัวพระผู้หญิง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สวภา เวชสุรักษ์
dc.contributor.author สุภาวดี โพธิเวชกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-03T05:04:37Z
dc.date.available 2023-02-03T05:04:37Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81816
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการรำละครไทยตัวพระผู้หญิง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การทดลองและการสนทนากลุ่มย่อยประกอบกับประสบการณ์ของผู้วิจัยในการสอนรำไทยมากว่า 40 ปี สรุปผลการวิจัยด้วยรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ โดยศึกษาจากการฝึกทักษะเพลงช้าเพลงเร็ว(แบบเต็ม)และการสวมบทบาทเป็นตัวละคร(พระ)ในเรื่องอิเหนาของกรมศิลปากร ผลการวิจัยพบว่า ตัวพระผู้หญิงเริ่มเป็นตัวละครรำของหลวงในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและรับแสดงได้ทั่วไปในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน สำหรับการฝึกผู้หญิงให้เป็นตัวละครพระนั้นความสำคัญอยู่ที่การจัดระเบียบร่างกายที่ใช้ในการรำ 8 ส่วน ได้แก่ ศีรษะ ไหล่ ลำตัว แขน มือ นิ้วมือ ขาและเท้าให้ได้ในแบบของตัวละครพระตั้งแต่การทรงตัวตรงโดยกำหนด 5 จุดสำคัญของร่างกายได้แก่ กลางหน้าผาก ระหว่างอก สะดือและหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างให้อยู่แนวเดียวกัน หากอยู่ในท่าผสมเท้าไหล่ที่เอียงลงมาด้านข้างจะไม่เกินเข่าที่ยืน แต่หากเป็นการก้าวเท้าปลายไหล่ที่เอียงจะไม่เกินปลายเท้าที่ก้าวหรือที่ยืน ระดับมือสูงที่สุดอยู่ที่แง่ศีรษะส่วนระดับล่างสุดมือจะอยู่ด้านหลังประมาณสะโพกและหากมีการรวมมือเข้าหาลำตัวด้านหน้าต้องกันแขนให้มีช่องว่างระหว่างข้อศอกกับลำตัวอย่างน้อย 1 ฝ่ามือ ในการเคลื่อนไหวให้ร่างกายส่วนล่างตั้งแต่สะโพกลงไปต้องตั้งตรงและนิ่งไว้สามารถย่อให้เกิดเหลี่ยมมุมกว้างตรงเข่าและยืดตัวขึ้นได้โดยมีสามัญลักษณะเฉพาะของรำไทยคือการห่มตัวหรือที่เรียกว่า “ห่มเข่า” ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนท่ารำในขณะที่ร่างกายส่วนบนจะเอนไปทางขวาหรือซ้าย จากนั้นจึงเป็นการฝึกรำเพลงช้าและเพลงเร็ว ลา ซึ่งพบว่ามีองค์ความรู้ที่เป็นหลักการรำไทย 5 ประการ คือ 1.แบบท่าขององคาพยพในการรำ 2.รูปแบบโครงสร้างท่ารำหลักและท่ารำรอง  3.วิธีการเชื่อมท่ารำ 4.วิธีการเคลื่อนไหวอย่างรำไทยและ5.การใช้พลังในการรำไทย ขั้นต่อไปเป็นการฝึกรำตีบทเพื่อพัฒนาให้สามารถสวมบทบาทเป็นตัวละครพระในการแสดงละครรำประกอบด้วยทักษะการรำอย่างตัวพระผู้หญิงจากการรำเพลงช้าเพลงเร็วและวิธีการสวมบทบาทเป็นตัวละครด้วยการตีบทแบบมีและไม่มีเนื้อร้องในบทบรรยาย บทเจรจาและบทแสดงอารมณ์รวมถึงการใช้ใบหน้าร่วมกับท่ารำเพื่อสร้างอรรถรสในการชม แนวคิดการรำไทยนี้จึงนับเป็นรากฐานและคุณูปการแก่บุคลากรในงานวิทยาการและวิชาชีพศิลปะการแสดงในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน
dc.description.abstractalternative This thesis aims to approach of male character performed by female dancer in Thai classical dance by qualitative researching method, documentary analysis, interview, observation, experiment and focus group consisting of experience of researcher on field of Thai classical dancer teaching since 1980 to 2022.  Conclusion of research by Descriptive Analysis had been studied on the practicing skill of the “Pleng Cha & Pleng Rew” (Slow and speedy melody of songs) and performing of male character on the Thai classical dance, E-Nao, of The Fine Arts Department. The result of this research found that the female dancer started to be the royal dancer in the end of Krungsri Ayuthya Dynasty and public dancing since the age of King Rama IV of Rattanakosin Dynasty up to present. For a female dancer trained to perform as a male character, the important part is to focus on the correct of physical posting on 8 parts of body as male character. such as Head, Shoulders, Body, Limbs, hands, fingers, legs and feet. Then, the practice of “Pleng Cha & Pleng Rew” dance shall be performed resulting in the understanding of the 5 main principles of knowledge of Thai dancing such as, 1. Posting of all body parts on Thai dance, 2. Pattern and structural of the Thai dance’s postures 3. Mixing and connecting of the Thai dance’s postures 4. Movement methods of Thai classical dance 5. The energy usage of Thai classical dance. The next step is the dancing practice, “Ram Tee-Bot” (the kind of dance for communication), with and without singing words on the role of description, conversation and emotional expression including the facial expression joined with posting positions of dance in order to have the flavor while watching the performance. This concept of Thai classical dance shall be the foundation and advantage of the concerned people related to this thesis and professional fine arts dancing in Thai society for sustainability of Thai dance.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.601
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title แนวคิดการรำละครไทยตัวพระผู้หญิง
dc.title.alternative Approach of male character performed by female dancer in Thai classical dance
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.601


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record