DSpace Repository

การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author พนม คลี่ฉายา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-17T07:17:10Z
dc.date.available 2023-02-17T07:17:10Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81949
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง “การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ” กำหนดวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสำรวจความต้องการเนื้อหาข่าวสาร ช่องทางการเปิดรับข่าวสารปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความต้องการเนื้อหาข่าวสาร รวมทั้งการรับรู้ ความรู้สึก และพฤติกรรมตอบสนองต่อเหตุการณ์อุทกภัยของประชาชน 2) เพื่ออธิบายการพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์อุทกภัย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน และพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 413 คน รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 813 คน ในช่วงหลังเหตุการณ์อุทกภัยปี 2557 ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพึ่งพาสื่อในสถานการณ์อุทกภัย สรุปได้ว่า ความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ของสื่อในการเสนอข่าวสารเกี่ยวกับน้ำท่วม (β = 0.333) และสถานการณ์น้ำท่วม (β =0.269) เป็นปัจจัยหลักที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อบุคคลในภาพรวม สามารถสรุปยืนยันได้ว่า การพึ่งพาสื่อของบุคคลในสถานการณ์อุทกภัยเกี่ยวข้องกับสถานการณ์อุทกภัย และการทำหน้าที่ของสื่อและช่องทางต่าง ๆ ที่นำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับอุทกภัยเป็นไปตามทฤษฎีการพึ่งพาสื่อ (Media Dependency Model) นอกจากนี้ผลการวิจัยสามารถสรุป อธิบายการพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์อุทกภัยเพิ่มเติมได้อีกว่า ในเหตุการณ์ที่ประชาชนต้องเผชิญกับอุทกภัยในระดับที่ก่อให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิต ทรัพย์สิน และชุมชนระดับมาก ประชาชนทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่มีอายุอยู่ระหว่าง 12-40 ปี และมีสุขภาพแข็งแรง มีการศึกษาระดับมัธยม อนุปริญญา จนถึงปริญญาตรี มีรายได้ 10,000-40,000 บาท มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ และนักเรียน นักศึกษา พักอาศัยอยู่ในชุมชนเป็นเวลามากกว่า 10 ปี มีที่พักอาศัยเป็นบ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเช่า ห้องเช่า มีจำนวนผู้พักอาศัยร่วมกันโดยเฉลี่ย 3-4 คน ทั้งช่วงวัยเด็กไปจนถึงผู้สูงอายุ จะมีความต้องการข่าวสารด้านการเตรียมพร้อมกับเข้าที่พัก ด้านความช่วยเหลือและบรรเทาภัยพิบัติ และด้านสิ่งของจำเป็นสำหรับการดำรงชีพมากที่สุด ความต้องการข่าวสารดังกล่าว เป็นแรงจูงใจที่ทำให้ประชาชนแสวงหาข่าวสารที่สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้ และได้ประเมินแล้วว่าสื่อโทรทัศน์สามารถพึ่งพาได้มากที่สุด ด้วยเหตุผลว่าสามารถทำหน้าที่ด้านการให้ข่าวสารเตือนภัยได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังพึ่งพาสื่ออื่น ๆ ด้วย ได้แก่ บุคคลใกล้ชิดในครอบครัวและเพื่อน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และเฟซบุ๊ก ผลของการพึ่งพาสื่อ 4 ประเภทดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนรับรู้ว่าน้ำท่วมเป็นภัยธรรมชาติที่รุนแรงและเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินของตน และด้วยการที่เขาสามารถพึ่งพาสื่อได้เพราะสื่อให้ข้อมูลตามที่ต้องการ ส่งผลให้ประชาชนมีการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมอย่างถูกต้อง ที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจให้ตนเองปลอดภัยได้มาก แม้จะเกิดความรู้สึกกลัว แต่ความกังวลว่าจะไม่สามารถดำรงชีวิตประจำวันในระหว่างและหลังน้ำท่วมได้กลับมีไม่มากนักส่งผลให้มีพฤติกรรมตื่นตัว โดยมีการจัดเก็บของหนีน้ำ การสำรองน้ำดื่มและอาหาร และการเตรียมอพยพออกจากพื้นที่น้ำท่วม อย่างไรก็ตามยังพบว่ามีพฤติกรรมเฉื่อยชาโดยไม่ติดตามข่าวสารน้ำท่วมและไม่ทำตามคำแนะนำเพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำท่วมอยู่บ้างเช่นกัน en_US
dc.description.abstractalternative This study aims to explore people’s perception of media’s role and natural disaster, information needs, media exposure and response behavior to natural disaster situations in case of flood. The research also explain media dependency of people who encounter natural disaster situations using concept of media dependency model. The data were collected from total 813 sample who live in the area effected by the severe flood in Thailand in the year 2011. The 413 samples live in Bangkok Metropolitan Region and another 400 samples live in Chiang Mai Province and Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The hypothesis testing of factors related to media dependency shows that opinion on the media’s role in reporting flood (β = 0.333) and perception on flooding situation (β = 0.269) are the main factors that affected individual perception, emotion and response behavior on flood situations which is based on media dependency model theoretically. The finding explain that people have highest level of information needs in preparation to return home, disaster reduction and necessary commodities. Those needs of information motivated them to seek information and rely more heavily on television in national disaster warning. In addition, the result indicated they also rely on other media such as close friends and family, mobile phone and Facebook as well. Those Media Dependency caused awareness among flood victims to realize that flooding is one of the most dangerous natural disasters and greatest threat to life and property. Those rely on media acknowledge information about flood situation accurately in order to make the right decision to secure themselves. The fear and anxiety to live during and after the flood are few, nevertheless they were alert to move or pack things away from flood, store food and water supplies, and prepare for evacuation. However, some those still unconcerned to pay attention from the news and not follow flood safety guides. en_US
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการทุนยุทธศาสตร์การวิจัยเชิงลึก คลัสเตอร์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจัดการภัยพิบัติ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ประจำปีงบประมาณ 2556 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภัยธรรมชาติ en_US
dc.subject ภัยพิบัติ en_US
dc.subject อุทกภัย en_US
dc.subject น้ำท่วม en_US
dc.subject สื่อมวลชน en_US
dc.subject พฤติกรรมแพร่ข่าวสาร en_US
dc.subject การเผยแพร่ข่าวสาร en_US
dc.title การพึ่งพาสื่อของประชาชนในเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ : รายงานการวิจัย en_US
dc.title.alternative People's media dependency during natural disaster : Research report en_US
dc.type Technical Report en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record