Abstract:
การวิจัยวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีการด าเนินการวิจัยประชากรเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย เป็นอาสามสมัคร จ านวน36 คนแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 18 คนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์โดยการน าทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองและทฤษฎีการดูแลตนเองประกอบด้วย 5 กิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC)เท่ากับ1.00แบบวัดความรู้ ความตระหนักเป็นแบบข้อค าถามหลายตัวเลือกอย่างละ30 ข้อ และการปฏิบัติเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 30 ข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง0.6-1.0, 0.8-1.0และ1.00ค่าความเที่ยง(Reliability)0.80, 0.82และ 0.86ตามล าดับระยะเวลาในการวิจัย8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยค่าทีภายในกลุ่ม(Dependent t-test) และระหว่างกลุ่ม (Independentt-test)ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ความตระหนัก หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05และ ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ความตระหนัก และการปฏิบัติในการขับขี่รถจักรยานยนต์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05