Abstract:
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางสุขภาพเรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและของกลุ่มควบคุมและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้ทางสุขภาพเรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมวิธีด าเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จ านวน 80 คนได้จากการสุ่มอย่างง่ายแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจ านวน 40 คน ได้รับกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การสะท้อนคิด และกลุ่มควบคุมจ านวน 40 คนได้รับกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีปกติเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การสะท้อนคิดจ านวน 8 แผนกิจกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวม 0.95 และแบบประเมินความฉลาดรู้ทางสุขภาพเรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง0.94 ค่าความเที่ยง 0.87 ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้ทางสุขภาพเรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และ ค่าเฉลี่ยคะแนนความฉลาดรู้ทางสุขภาพเรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย การจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้การสะท้อนคิดส่งผลให้ความฉลาดรู้ทางสุขภาพเรื่องยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาสูงกว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ