DSpace Repository

การถ่ายทอดลักษณะต้านออกซิเดชันของข้าวกล้องในประชากรข้าวรุ่น F2 จากคู่ผสม “RD41” × “Riceberry”

Show simple item record

dc.contributor.author ศรัณยู ถาวร
dc.contributor.author ชนิตา ปาลิยะวุฒิ
dc.contributor.author วราลักษณ์ เกษตรานันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-31T09:32:39Z
dc.date.available 2023-05-31T09:32:39Z
dc.date.issued 2565-07
dc.identifier.citation วารสารแก่นเกษตร 50,4 (ก.ค.-ส.ค. 2565) หน้า 1131-1142 en_US
dc.identifier.issn 0125-0485
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82157
dc.description.abstract การศึกษาการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของลักษณะต้านออกซิเดชันในข้าวกล้องเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญเพื่อการประมาณความเป็นไปได้ของการคัดเลือกข้าวที่มีสารต้านออกซิเดชันสูง ในประชากรรุ่นลูกจากคู่ผสม “RD41” × “Riceberry” ประชากรนี้ได้ถูกสร้างขึ้นและปลูกที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีระหว่างเดือนสิงหาคม 2559 ถึงเดือนธันวาคม 2560 วัตถุประสงค์คือ ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะต้านออกซิเดชันของข้าวกล้องในประชากรรุ่น F2 ที่ได้จากคู่ผสม “RD41” (P1) × “Riceberry” (P2) เมล็ดข้าวกล้องของ P1 P2 F1 และ F2 ถูกนำมาสกัดด้วย 1% HCl ในเมธานอล จากนั้น ปริมาณของลักษณะต้านออกซิเดชันที่ประกอบด้วย ปริมาณสารฟีโนลิคทั้งหมด (TPC) ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) และปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมด (TAC) ส่วนฤทธิ์ต้านออกซิเดชันประกอบด้วยวิธี ABTS radical scavenging (ABTS) และ Ferric reducing antioxidant power (FRAP) ได้ถูกวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่าสีของเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวควบคุมด้วยยีนด้อยสองคู่ ส่วนการกระจายความถี่ของลักษณะต้านออกซิเดชันของข้าวรุ่น F2 เป็นการกระจายอย่างต่อเนื่องและไม่เป็นโค้งปกติ นอกจากนี้ การกระจายตัวยังแสดงว่าเกินขอบเขตของพ่อแม่ สหสัมพันธ์ในเชิงบวกต่อกันสูงระหว่างทุกลักษณะต้านออกซิเดชัน (r=0.910-0.973, p=0.01) ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนเนื่องจากพันธุกรรม (GCV) สัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของลักษณะปรากฏ (PCV) อัตราพันธุกรรม (H2) และค่าร้อยละความก้าวหน้าทางพันธุกรรม (%GA) แสดงค่าสูงและอยู่ในช่วงจาก 40.08-117.62 44.13-124.35 0.82-0.94 และ 75.16-229.74 ตามลำดับ และความแตกต่างระหว่าง GCV และ PCV มีค่าต่ำและอยู่ในช่วงจาก 1.57-6.73 ผลการทดลองทั้งหมดเสนอให้เห็นว่าลักษณะต้านออกซิเดชันของประชากรนี้ถูกแสดงออกด้วยการถ่ายทอดเชิงปริมาณของยีนหลายตำแหน่ง ถูกควบคุมด้วยยีนด้อย และถูกบ่งชี้ว่าได้รับอิทธิพลจากยีนมากกว่าสภาพแวดล้อม ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ของการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อให้มีลักษณะสารต้านออกซิเดชันสูงจากประชากรนี้ได้เป็นผลสำเร็จ en_US
dc.description.abstractalternative A study on inheritance of antioxidant traits in brown rice was an important basic genetic information for estimating the possibility of rice selection with high antioxidant traits in the progeny population of “RD41” × “Riceberry. This population was generated and planted at Pathumthani Rice Research Center between August 2016 and November 2017. The objective was to study the inheritance of antioxidant traits of brown rice in the F2 population derived from RD41 (P1) × Riceberry (P2). The brown rice of P1, P2, F1, and F2 were extracted with 1% (v/v) hydrochloric acid in methanol. Then, the content of the antioxidant traits including total phenolic content (TPC), total flavonoid content (TFC) and total anthocyanin content (TAC), and antioxidant activity including ABTS radical scavenging assay (ABTS), and Ferric reducing antioxidant power (FRAP) were analyzed. The results found that the colors of rice pericarp were regulated by two recessive genes, and the frequency distributions of F2antioxidant traits were continuous and non-normal distribution. Furthermore, the distribution showed transgressive segregation. The high positive correlations between all antioxidant traits were detected (r=0.910-0.973, p=0.01). The genotypic coefficient of variation (GCV), phenotypic coefficient of variation (PCV), heritability (H2), and percentage of genetic advance (%GA) exhibited the high value and ranged from 40.08-117.62, 44.13-124.35, 0.82-0.94 and 75.16-229.74, respectively and the difference between GCV and PCV were low value and ranged from 1.57-6.73. The results suggested that the antioxidant traits in this population were expressed by quantitative inheritance of polygene, regulated by recessive genes, and indicated to be influenced by genes rather than the environment. Consequently, the possibility of selection in rice cultivar for the antioxidant traits from this population was successful. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher บรรณาธิการวารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น en_US
dc.relation.uri https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/247972
dc.rights บรรณาธิการวารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น en_US
dc.subject การปรับปรุงพันธุ์ en_US
dc.subject พันธุศาสตร์ en_US
dc.subject การศึกษากับพันธุกรรม en_US
dc.title การถ่ายทอดลักษณะต้านออกซิเดชันของข้าวกล้องในประชากรข้าวรุ่น F2 จากคู่ผสม “RD41” × “Riceberry” en_US
dc.title.alternative Inheritance of antioxidant traits of the brown rice in F2 population from the cross of “RD41” × “Riceberry” en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Thai Journal Article [90]
    บทความวารสารภาษาไทยจากฐานข้อมูลออนไลน์ Free Open Access

Show simple item record