Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจําเป็นของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา และ 3) พัฒนานวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประชากร คือ โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา จํานวน 26 โรงเรียน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1)ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทั้ง 26 โรงเรียนได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 26 คน ครู 52 คน ผู้ปกครอง 52 คน และผู้แทนชุมชน 78 คน รวมทั้งสิ้น 208 คน 2)ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จํานวน5โรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 5คน ครู 5คน ผู้ปกครอง 5คน และผู้แทนชุมชน 15คน รวมทั้งสิ้น 30คนและ 3)ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสะเต็ม 2 คน ด้านการประเมินแบบร่วมมือ 1 คน ด้านการพัฒนานวัตกรรม 1 คน และด้านการบริหารสถานศึกษา 5 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาจับประเด็น และความต้องการจําเป็นแบบปรับปรุงผลการวิจัยพบว่า1.ความต้องการจําเป็นของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษาที่มากที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตรโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการบูรณาการความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจําวัน (PNImodified= .111) 2.แนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย 4 แนวปฏิบัติ ประกอบด้วย การออกแบบหลักสูตรที่ยึดโยงกับโลกแห่งความเป็นจริง การออกแบบหลักสูตรที่บูรณาการข้ามหน่วยและข้ามกลุ่มสาระ การออกแบบหลักสูตรที่บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยี และการออกแบบหลักสูตรที่ยืดหยุ่นตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน3.นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษาประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน และแผนผังการพัฒนาหลักสูตร