DSpace Repository

นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.author ชุณวัฒน์ ปุงบางกระดี่
dc.contributor.author สุกัญญา แช่มช้อย
dc.contributor.author พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-29T03:46:10Z
dc.date.available 2023-06-29T03:46:10Z
dc.date.issued 2565-04
dc.identifier.citation วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 24,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2565) หน้า 85-95 en_US
dc.identifier.issn 2586-9345
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82189
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจําเป็นของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา และ 3) พัฒนานวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประชากร คือ โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาที่เปิดสอนระดับประถมศึกษา จํานวน 26 โรงเรียน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1)ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทั้ง 26 โรงเรียนได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 26 คน ครู 52 คน ผู้ปกครอง 52 คน และผู้แทนชุมชน 78 คน รวมทั้งสิ้น 208 คน 2)ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จํานวน5โรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 5คน ครู 5คน ผู้ปกครอง 5คน และผู้แทนชุมชน 15คน รวมทั้งสิ้น 30คนและ 3)ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสะเต็ม 2 คน ด้านการประเมินแบบร่วมมือ 1 คน ด้านการพัฒนานวัตกรรม 1 คน และด้านการบริหารสถานศึกษา 5 คน รวมทั้งสิ้น 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหาจับประเด็น และความต้องการจําเป็นแบบปรับปรุงผลการวิจัยพบว่า1.ความต้องการจําเป็นของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษาที่มากที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตรโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการบูรณาการความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตประจําวัน (PNImodified= .111) 2.แนวปฏิบัติที่ดีของการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา ประกอบด้วย 4 แนวปฏิบัติ ประกอบด้วย การออกแบบหลักสูตรที่ยึดโยงกับโลกแห่งความเป็นจริง การออกแบบหลักสูตรที่บูรณาการข้ามหน่วยและข้ามกลุ่มสาระ การออกแบบหลักสูตรที่บูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยี และการออกแบบหลักสูตรที่ยืดหยุ่นตามระดับความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน3.นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษาประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน และแผนผังการพัฒนาหลักสูตร en_US
dc.description.abstractalternative This research objectives were 1) to study themodified priority needs index of the primary school curriculum development, 2) to study the good practices of primary school curriculum development, and 3)to develop the curriculum development innovation of primary school based on the concept of collaborative evaluation and STEM education goals. The population is 26 primary STEM schools. Data were collected fromthe total population. The respondents consisted of 1) 208 stakeholders of 26 schools, consisted of 26 school administrators, 52 teachers, 52 parents, and 78 community members, 2) 30 stakeholders of 5 schools with good practice, consisted of 5 school administrators, 5 teachers, 5 parents, and 15 community members, and 3) 9 experts, consisted of 2 STEM experts, 1 collaborative evaluation expert, 1 innovation development expert, and 5 school administration experts. The research tools consisted of a questionnaire, an interview form, and an assessment form.The statistics used in data analysis were mean, standard deviation, content analysis, and PNImodified. The research revealed that:1.The greatest needs for developing primary school curriculum based on the concept of collaborative evaluation and STEM education goals is the development of curriculum by collecting information from all stakeholders on the integration of knowledge in solving daily problems. (PNImodified= .111)2.Good practices for developing primary school curriculum based on the concept of collaborative evaluation and STEM Education Goals consist of 4 guidelinesconsisted of Real-world integration curriculum designing, Interdisciplinary curriculum designing, Technology integration curriculum designing, and Student proficiency-based curriculum designing.3.The curriculumdevelopment innovation of primary school based on theconcept of collaborative evaluation and STEM education goalsconsist of Curriculum goals, Curriculum principles, Students’ key competencies, and Curriculum development flow chart. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร en_US
dc.relation.uri https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/254083
dc.rights วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร en_US
dc.subject เทคโนโลยี -- การศึกษาและการสอน en_US
dc.subject การวางแผนหลักสูตร en_US
dc.subject การศึกษา -- หลักสูตร en_US
dc.title นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการประเมินแบบร่วมมือและเป้าหมายของสะเต็มศึกษา en_US
dc.title.alternative Curriculum development innovation of primary school based on the concept of collaborative evaluation and stem education goals en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Thai Journal Article [90]
    บทความวารสารภาษาไทยจากฐานข้อมูลออนไลน์ Free Open Access

Show simple item record