Abstract:
บทความนี้ต้องการวิเคราะห์อํานาจทางการเมืองของทหารไทยนับตั้งแต่การรัฐประหารในปีพ.ศ. 2490 จนถึง 2557 ด้วยมโนทัศน์รัฐเสนานุภาพ (praetorianism) โดยพิจารณาการพยายามสถาปนาอํานาจของทหารผ่านระบบกฎหมายการใช้อํานาจบริหารประเทศและอํานาจเหนือกิจการความมั่นคงภายในโดยอํานาจของกองทัพในแต่ละยุคสมัยมีระดับที่แตกต่างกันการปกป้องสถาบันกษัตริย์มีความสําคัญสูงสุดสําหรับรัฐเสนานุภาพไทยทั้งในแง่ที่ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” เป็นทั้งอุดมการณ์พันธกิจและเป็นแหล่งอ้างอิงความชอบธรรมของกองทัพการสร้างรัฐเสนานุภาพไทยเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างกองทัพกับพันธมิตรในเครือข่ายรอยัลลิสต์รัฐเสนานุภาพไทยสามารถผลักดันนโยบายการพัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการขยายอํานาจหน้าที่ของทหารในปัญหาความมั่นคงภายในออกไปอย่างกว้างขวางจํากัดอํานาจพลเรือนเหนือกิจการภายในของกองทัพพร้อมๆกับทําให้ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอ่อนแอลงประการสําคัญนับตั้งแต่การรัฐประหารพ.ศ. 2490กลไกอํานาจของกองทัพได้ถูกสถาปนาลงสู่โครงสร้างส่วนบนของอํานาจทําให้กองทัพสามารถบ่อนเซาะเสถียรภาพของรัฐบาลจากการเลือกตั้งได้อย่างง่ายดายดังเช่นที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลพลเรือนหลังการรัฐประหารในปีพ.ศ. 2549