dc.contributor.author |
ธัญญาทิพย์ จันทร์ผ่อง |
|
dc.contributor.author |
ปวีณา เชาวลิตวงศ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-07-05T09:15:45Z |
|
dc.date.available |
2023-07-05T09:15:45Z |
|
dc.date.issued |
2565-01 |
|
dc.identifier.citation |
วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 29,1 (ม.ค.-เม.ย. 2565) หน้า 43-55 |
en_US |
dc.identifier.issn |
2672-9695 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82194 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการวัสดุคงคลังของกลุ่มบรรจุภัณฑ์ (Packaging) จำนวน 24 รายการที่มีการควบคุมดูแลแบบต่อเนื่อง (Continuous Review) ของโรงงานเซมิคอนดักเตอร์กรณีศึกษาแห่งหนึ่ง โดยการกำหนดนโยบายวัสดุคงคลังที่เหมาะสมสำหรับวัสดุคงคลังแต่ละรายการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายรวมอันประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ และค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ โดยที่ยังสามารถรักษาระดับการให้บริการที่ 95% ตามกลยุทธ์ของโรงงานไว้ได้ โดยงานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการศึกษาข้อมูลของวัสดุคงคลัง ข้อมูลการสั่งซื้อ เงื่อนไขการสั่งซื้อ และข้อจำกัดต่าง ๆ ในการสั่งซื้อ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์รูปแบบความต้องการ (Demand Pattern) ของวัสดุคงคลังแต่ละรายการ พบว่าสามารถแบ่งแยกรูปแบบ ความต้องการออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. Smooth Demand 2. Erratic Demand จากนั้น จึงกำหนดนโยบายวัสดุคงคลังตามรูปแบบของความต้องการ โดยมีแนวคิดในการออกแบบนโยบายวัสดุคงคลังคือสามารถสั่งเติมวัสดุคงคลังได้เสมอ เนื่องจากรูปแบบการตรวจสอบวัสดุคงคลังเป็นแบบต่อเนื่อง ซึ่งในที่นี้ได้นำเสนอนโยบายของกลุ่มที่มีความต้องการแบบ Smooth Demand คือ Re-Order Point (ROP) และ Erratic Demand ผู้วิจัยประยุกต์ใช้นโยบายแบบจำลองจุดสั่งซื้อ-ระดับสั่งซื้อ หรือ (s, S) สำหรับการกำหนดจุดสั่งซื้อและการกำหนดระดับวัสดุคงคลังสำรอง
ผลการดำเนินงานวิจัยจากการกำหนดนโยบายสั่งซื้อที่เหมาะสม จากการทดสอบด้วยข้อมูล 2 ปี ได้แก่ ปี 2019 และปี 2020 พบว่า ค่าใช้จ่ายรวมของวัสดุคงคลังปี 2019 ลดลงจาก 111,832 เหรียญสหรัฐฯต่อปี เป็น 46,288 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี คิดเป็น 58.61% และปี 2020 ค่าใช้จ่ายรวมลดลงจาก 132,886 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 51,404 เหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น 64.29% โดยที่ยังสามารถคงระดับการให้บริการแบบ Fill Rate ของปี 2019 และปี 2020 เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 95.13% และ 95.36% ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความคงทนของนโยบายใหม่โดยการทดสอบความไวต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการ ในสถานการณ์ที่ความต้องการลดลงจากเดิม 50% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของโรงงานกรณีศึกษา พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 13% แต่ยังคงสามารถรักษาระดับการให้บริการที่ 95% ไว้ได้ |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This paper proposes an appropriate ordering policy to improve the efficiency of inventory management for the packaging group of 24 items in a semiconductor factory, this is to reduce total cost while maintaining service level at 95%. The total cost is comprised of ordering cost and inventory holding cost. This study was conducted as follows. Firstly, all relevant data (e.g., inventory data, ordering conditions, and constraints) is reviewed. Then, the demand is divided into 2 patterns: 1. Smooth demand 2. Erratic demand. So, the grouped demand will be defined by the inventory policies. The concept of policy design is to be replenished at any time because the inventory is continuously reviewed. Thus, the Re-Order point (ROP) policy and (s, S) policy are proposed for Smooth demand pattern and Erratic demand pattern consecutively.
The proposed policies are tested with demand data from 2019 and 2020. The results show a total reduction from 111,832 USD to 46,288 USD in 2019 or decreased by 58.61%, and from 132,886 USD to 51,404 in 2020 or decreased by 64.29%. While the policy is still able to maintain the service level as Fill Rate in 2019 and 2020, the average per year is 95.13% and 95.36% respectively. Additionally, the sensitivity analysis result shows that the proposed policy is robust to changes in demand patterns. There are only about 13% changes in total cost compared to 50% changes in average demand or the worst-case scenario for demand changes. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
en_US |
dc.relation.uri |
https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/EngJCMU/article/view/246904 |
|
dc.rights |
บรรณาธิการเเละกองบรรณาธิการวารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
en_US |
dc.subject |
วิศวกรรมอุตสาหการ |
en_US |
dc.subject |
การจัดการวัสดุ |
en_US |
dc.subject |
การควบคุมสินค้าคงคลัง |
en_US |
dc.title |
การจัดการวัสดุคงคลังประเภทบรรจุภัณฑ์สำหรับวงจรรวม ในกรณีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการหลากหลาย |
en_US |
dc.title.alternative |
Inventory Management for Integrated Circuit Packaging Material under Variable Demand |
en_US |
dc.type |
Article |
en_US |