Abstract:
จากการศึกษาก่อนหน้านี้ของกลุ่มวิจัยของเรา พบว่า วัสดุรองพื้นฟิล์มบางที่ทำมาจาก สารอสัณฐาน Au49Ag5.5Pd2.3Cu26.9Si16.3 เพิ่มการยึดติดและแบ่งตัวของเซลล์ Neuro2A ที่เลี้ยงแบบ in vitro ได้ดี ซึ่ง เป็นข้อบ่งชี้ที่พบได้ไม่บ่อยนักบนวัสดุโลหะและโลหะผสม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคงอยู่และการส่ง กระแสไฟฟ้าของเซลล์ประสาทบนวัสดุทองโลหะผสมอาจเป็นการเปิดโอกาสใหม่ในการเชื่อมต่อเส้นประสาทที่ สูญเสียไป การสร้างโครงข่ายระบบประสาทใหม่ และการชักนำให้เกิดการแตกแขนงของเส้นประสาท วัสดุทอง โลหะแก้วมีข้อดีคือการขึ้นรูปของโลหะในรูปร่างและขนาดที่ต้องการ นำไปสู่การสร้างรูปแบบที่หลากหลายใน โครงข่ายระบบประสาทได้ ในการศึกษานี้ วัสดุทองโลหะแก้ว วัสดุที่มีคุณลักษณะจำเพาะและมีความคาดหวัง จะถูกนำมาขึ้นรูปแถบสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมในระดับอนุภาคและนำไปเลี้ยงเซลล์ จะมีการใช้กระบวนการ ระเหยด้วยอุณหภูมิสูงในการยึดทองโลหะผสมเป็นวัสดุรองพื้น ความกว้างของแถบจะทดลองในขนาดที่ หลากหลายเพื่อค้นหาขนาดที่ทำให้เกิดการยึดติดและการแบ่งตัวของเซลล์ที่ดีที่สุด ในการทดลองจะเก็บภาพ รูปแบบอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์เรืองแสงชนิดหัวกลับ จากนั้นจะมีการทดสอบการยึดติดและการแบ่งตัวของ เซลล์ เซลล์ Neuro2A จะถูกกระตุ้นให้แตกแขนงและยึดติดอยู่บนวัสดุทองโลหะผสมรูปแบบอนุภาค โดยมีการ เปรียบเทียบการแตกแขนง ยึดติด และแบ่งตัวของเซลล์ที่อยู่บนวัสดุเทียบกับวัสดุแก้วทั่วไปและวัสดุแก้วที่เพิ่ม สารโพลิเมอร์