dc.contributor.advisor |
รักชนก คชานุบาล |
|
dc.contributor.author |
สุพนิดา จิระสินวรรธนะ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T04:26:37Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T04:26:37Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82239 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความยากจนของผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 และศึกษาความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 39.0 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 34.1 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส เขตที่อยู่อาศัย สถานภาพการทำงาน สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และรูปแบบการอยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านเพศและการพึ่งพิงรวมมีความสัมพันธ์กับความยากจนของผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น และผลการศึกษาเปรียบเทียบความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 พบว่าสัดส่วนครัวเรือนผู้สูงอายุไทยที่ยากจนลดลงจากร้อยละ 11.5 ในปี พ.ศ.2560 เป็นร้อยละ 8.5 ในปี พ.ศ.2564 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ประกอบด้วย อายุหัวหน้าครัวเรือน จำนวนสมาชิกครัวเรือน การพึ่งพิงรวม ระดับการศึกษา และเขตที่อยู่อาศัย และพบว่าแต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางเดียวกันทั้งในปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ยกเว้นอายุของหัวหน้าครัวเรือนที่มีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยในทิศทางตรงข้ามกันระหว่างปี พ.ศ.2560 และปี พ.ศ.2564 ในขณะที่ปัจจัยด้านสถานภาพสมรสของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับความยากจนของครัวเรือนผู้สูงอายุไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะในปี พ.ศ.2560 เท่านั้น |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of this study was to examine the poverty status of Thai older persons and the factors related to their poverty status in the years 2017 and 2021, using data from the Survey of the Older Persons in Thailand in the years 2017 and 2021, as well as the poverty status of Thai older person households and the factors related to their poverty status in the years 2017 and 2021, using data from the Household Socio-economic Survey in the years 2017 and 2021, conducted by the National Statistical Office.
The study found that the proportion of Thai older persons living in poverty decreased from 39.0% in 2017 to 34.1% in 2021, with statistically significant factors associated with their poverty status, including age, household size, education level, marital status, residential area, employment status, medical benefit schemes, and living arrangements. These factors were found to be consistently related to the poverty status of Thai older persons in both 2017 and 2021, while factors such as gender and dependency had statistically significant relationships with the poverty status of Thai older persons only in 2017. Comparing the poverty status of Thai older person households between 2017 and 2021, the study found a decrease in the proportion of Thai older person households living in poverty from 11.5% in 2017 to 8.5% in 2021, with statistically significant factors associated with their poverty status, including the age of the household head, household size, dependency, education level of the household head, and residential area. These factors were found to be consistently related to the poverty status of Thai older person households in both 2017 and 2021, except for the age of the household head, which had a reverse relationship with the poverty status of Thai older person households between 2017 and 2021. Additionally, the marital status of the household head had a statistically significant relationship with the poverty status of Thai older person households only in 2017. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.677 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.subject.classification |
Human health and social work activities |
|
dc.subject.classification |
Sociology and cultural studies |
|
dc.title |
ความยากจนในผู้สูงอายุไทย: การเปลี่ยนแปลงและปัจจัยเสี่ยง |
|
dc.title.alternative |
Poverty among Thai older persons: changes and risk factors |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
ประชากรศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.677 |
|