DSpace Repository

พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุพรรณี บุญเพ็ง
dc.contributor.author ธีวรา วิโนทกะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T05:50:36Z
dc.date.available 2023-08-04T05:50:36Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82328
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์เรื่อง พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี โดยมีขอบเขตของการศึกษาในครั้งนี้คือ พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 34 (ปี พ.ศ. 2529-2563) โดยศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า การแสดงในงานพระนครคีรีมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยยังยึดการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีเป็นหลัก รูปแบบของการแสดงที่พบในงานพระนครคีรี คือ 1) โขน 2) ละคร 3) รำ 4) ระบำ 5) การแสดงพื้นบ้าน 6) การแสดงสร้างสรรค์ 7) การแสดงดนตรี 8) มหรสพต่าง ๆ โดยการแสดงจะปรากฏอยู่ในจุดต่าง ๆ ภายในงานพระนครคีรี ซึ่งผู้วิจัยจำแนกพัฒนาการของศิลปะการแสดงออกเป็น 3 ช่วง โดยแบ่งจากหน่วยงานที่ปฏิบัติงานด้านการจัดการแสดงและรูปแบบการแสดงที่ถูกปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี คือ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2529-2548 ยุคทดลอง ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2549-2557 ยุคพัฒนา ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2558-2563 ยุคปัจจุบัน ซึ่งงานวิจัยฉบับนี้ถือเป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับจังหวัดเพชรบุรี รวมไปถึงยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อไป
dc.description.abstractalternative This thesis is a qualitative research. The objectives of this study was to study the development of performing arts at the Phra Nakhon Khiri - Muang Petch Fair. The scope of the study is from 1986 to 2020. The methodology of this study is learning, searching, and collecting data from the documents, interviews, and participant and non-participant observations to analyze and summarize the data. The result found that performances of Phra Nakorn Khiri fair have been continuously adjusted and developed. But adhering to performance of local arts and culture.  The performance styles in Phra Nakorn Khiri fair are 1) Khon 2) Drama 3) Dance 4) Dance (Another Type) 5) Folk performance 6) Creative performance 7) Musical performance 8) Entertainment. Where performances appear at various locations within the Phra Nakhon Khiri fair. The development of performances are divided into 3 periods, divided from the agencies working on the performance management and the situation of the social in each year. During the first period of 1986-2005, experimental era. The second period, 2006-2014, development period, during the 3rd period, 2015-2020, current range. This research is considered to disseminate local arts and culture and promote tourism to Phetchaburi Province. Including also being useful to those who are interested in studying further.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.597
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.subject.classification Arts, entertainment and recreation
dc.title พัฒนาการของการแสดงในงานพระนครคีรี
dc.title.alternative The development of performing arts at Phra Nakorn Khiri Fair
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline นาฏยศิลป์ไทย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.597


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record