dc.contributor.advisor |
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
ธมนวรรณ นุ่มกลิ่น |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T05:50:50Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T05:50:50Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82356 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์หัวข้อ การแสดงพระราชทานประกอบบทขับร้องพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบการแสดงพระราชทานประกอบบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2565 ผู้วิจัยใช้กระบวนการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย และสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนร่วมในงาน ตลอดจนสังเกตการณ์ และร่วมแสดงในงานดังกล่าว ผู้วิจัยพบว่าการแสดงงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การบรรเลงวงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ และการบรรเลงดนตรีไทยวงสายใยจามจุรี ประกอบบทพระราชนิพนธ์ การแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2565 มีทั้งหมด 12 ชุดการแสดง โดยในปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2565 ภาควิชานาฏยศิลป์ ได้รับมอบหมายจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ดำเนินการออกแบบ และจัดการแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์ รวมทั้งสิ้น 5 ชุดการแสดง การแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์ ให้ความบันเทิง และแฝงข้อคิดเตือนใจผู้ชมให้นำไปปฏิบัติตนได้อย่างทันสมัยตลอดเวลา พระองค์ท่านโปรดให้ใส่สำเนียงเพลงออกภาษา ในการประพันธ์ดนตรี และทรงพระราชทาน พระราชวินิจฉัย ตลอดการแสดง แนวดนตรีเน้นการประพันธ์เพลง ร่วมสมัย ผสมผสานเพลงไทยเดิมของโบราณกับประพันธ์ขึ้นใหม่ ร่วมกับวงดนตรีสากล ซียูแบรนด์ การแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์ ตีความตามบท และเลือกนำเสนอในฉากที่มีเนื้อหาโดดเด่น มีทั้งการแสดงทั้งเรื่อง ได้แก่ นเรนทราทิตย์ : วีรกษัตริย์ผู้ทรงคุณธรรม การแสดงบางช่วง ได้แก่ เพลงภาษาพาสนุก และรูปสลักหินวีรบุรุษโบราณ การแสดงระบำตอนท้าย ได้แก่ เที่ยวไปในแดนชวา การออกแบบท่ารำประกอบการแสดง มีทั้งรำใช้บท และสร้างสรรค์ท่าทางขึ้นใหม่ โดยทุกขั้นตอนการสร้างงานอยู่ในพระราชวินิจฉัย และการกำกับของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโดยตลอด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมีพระเมตตาพระราชทานบทพระราชนิพนธ์ และการแสดงประกอบ แสดงถึงพระอัจฉริยภาพอันสูงยากที่จะเปรียบได้ การแสดงประกอบบทพระราชนิพนธ์นับว่ามีคุณค่าทางด้านวิชาการ การดำเนินชีวิต และสามารถนำข้อคิดไปพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา อย่างไม่ล้าสมัย |
|
dc.description.abstractalternative |
The thesis titled "Royal Performances Accompanying the Royal Compositions in Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn's Ancient Pi Phat Performance at Chulalongkorn University aimed to study the process of designing royal performances to accompany the royal compositions between 2016 and 2022. The researcher gathered information from documents, research work, interviews with participants, direct observations, and personal involvement in the event. It was discovered that the Ancient Pi Phat performance was divided into two parts: the execution of traditional Thai music and the royal performances accompanying the royal compositions. Performances accompanying royal compositions from 2007 to 2022 comprised a total of 12 performance sets. From 2016 to 2022, the Department of Dramatic Arts was commissioned by Chulalongkorn University to design and manage five sets of performances. These performances, while being entertaining, also convey meaningful messages and provoke thoughtful reflection among the audience, prompting them to adapt and keep up with modern times. Her Royal Highness laid emphasis on the pronunciation in musical compositions and bestowed royal remarks throughout the performances. The musical direction emphasized contemporary compositions that interwove elements of traditional Thai music with newly composed pieces, in collaboration with the international band "CU Brand". Performances accompanying the royal compositions interpret the scripts and select scenes with notable content. These include full story performances such as "Narentharathip", segmental performances like "Fun Language" and "Ancient Hero's Stone Carving", and specific scenes like "Travel to the Land of Chava". The choreography of the performances includes both traditional dances and newly created movements. Every stage of the work creation is under the royal decree and direction of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. This ongoing guidance reflects the greatest gratitude, showing her mercy, her bestowal of the royal compositions, and the accompanying performances. It demonstrates her unmatched, high-level artistic skills. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.596 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.subject.classification |
Arts, entertainment and recreation |
|
dc.subject.classification |
Music and performing arts |
|
dc.title |
การแสดงพระราชทานประกอบบทขับร้องพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title.alternative |
The performances of the bestowed accompaniment to the composition of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn in Piphat Duekdamban at Chulalongkorn University |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นาฏยศิลป์ไทย |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.596 |
|