dc.contributor.advisor |
ศิวรี อรัญนารถ |
|
dc.contributor.author |
ธัญชนิต นฤปจาตุรงค์พร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T05:50:51Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T05:50:51Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82357 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
การพัฒนาทางด้านกายภาพของเด็กส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบสร้างสรรค์รูปแบบเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กด้วยนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถขยายได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเองจากกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 71 คน ข้อมูลการแต่งกายของกลุ่มผู้บริโภคด้วยเทคนิค Paper doll data set เพื่อเก็บรวมรวมข้อมูลรูปภาพและวิเคราะห์องค์ประกอบการแต่งกายที่ใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ ทดลองสร้างเทคนิค รายละเอียดตกแต่งภายใต้แนวคิดการออกแบบที่สามารถขยายได้ จากการศึกษาพบว่าในการออกแบบคอลเลกชันเครื่องแต่งกายกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชันต้องคำนึงถึงรูปแบบการแต่งกายและความต้องการของกลุ่มมิลเลนเนียลส์เจเนอเรชัน ผู้ที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อเครื่องแต่งกายให้กับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชัน โดยมีองค์ประกอบการตัดสินใจซื้อคือรูปแบบของการออกแบบดังนี้ 1) รูปแบบเครื่องแต่งกาย นิยมรูปแบบเรียบง่าย หรือแบบมินิมอล และรูปแบบสตรีท 2) รูปแบบโครงร่างเงาของเครื่องแต่งกาย นิยมรูปแบบทรงตรง หรือ I-Line และรูปแบบทรงเอ หรือ A-Line 3) รูปแบบสีของเครื่องแต่งกาย นิยมสีพาสเทล และสีสดใส 4) รูปแบบของการออกแบบเครื่องแต่งกายด้านการใช้สอยที่ได้รับความสนใจคือรูปแบบการปรับขยายตามสัดส่วนของร่างกาย รูปแบบการปรับเปลี่ยนได้ และรูปแบบการถอดประกอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมการออกแบบที่สามารถขยายได้ตามสัดส่วนของร่างกาย จากการทดลองสร้างสรรค์เทคนิครายละเอียดตกแต่งพบว่าการถัก ด้วยรูปแบบ Accordion Pleat มีการยืด หด ขยายได้ดีที่สุด ประกอบกับการเลือกใช้วัสดุ Eco Vero ที่ไม่ผสมกับวัสดุอื่นในการถัก ส่งผลให้มีผิวสัมผัสที่นิ่ม นุ่ม น้ำหนักเบา เนื้อผ้ามีความเย็นสบาย อีกทั้งขนาดเส้นด้ายที่เล็กและไม่ฟูเป็นขุยง่าย เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายสำหรับเด็กที่สามารถขยายได้ |
|
dc.description.abstractalternative |
The physical growth of infants and children leads to rapid production in the child fashion industry which negatively affects the environment. The children’s casual wear and branding study aims to invent environmental-friendly child clothes with expandable innovation which prolongs product utility. In the research, the researcher used a questionnaire survey to collect data from the sample size of 71 and a Paper doll data set to analyze clothing elements and customer target’s style as the support for expandable apparel design. The result indicates the significant relation between the Alpha generation’s clothing and the Millennials generation’s styles and fashion interests. The Millennials group normally selects and purchases clothes for children with the concerning points of designs which are 1) Style: Street and minimal style 2) Silhouettes: I-Line and A-Line 3) Colors: Pastel and Colorful and 4) Design for utility: Physically expandable, adjustable, and modular clothing. The clothing element design research shows that knitted clothes in accordion pleat design with entire Eco Vero material contribute the highest flexibility, lightweight, soft and cool clothes creating a comfortable feeling for the wearer in a high-temperature environment, additionally, Eco Vero material can be produced as small and even thread preventing lint and running cloth which is suitable to create expandable clothes for children. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.585 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.subject.classification |
Arts, entertainment and recreation |
|
dc.subject.classification |
Design |
|
dc.title |
นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายลำลองสำหรับกลุ่มอัลฟ่าเจเนอเรชันภายใต้แนวคิดความยั่งยืนแบบเอมทิเนส |
|
dc.title.alternative |
The branding innovation of casual wear for alpha generation by using the concept of emptiness |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นฤมิตศิลป์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.585 |
|